รอยลูกปัด
- Details
- Written by Super User
- Category: รอยลูกปัด
- Published: 07 January 2021
- Hits: 856
แล้วจะไม่ไขเรื่อง #ลูกปัดบ้านเชียง ลงเมืองโบราณได้อย่างไรกัน ?
TheReasonOf #BanChiangBeads ReviewForMuangBoran
(bunchar.com รอยลูกปัด 20210106_7)
ลองอ่านนี้ ที่ผมสรุปจาก ๒ เล่มนี้ให้ #เมืองโบราณ
แล้วกรุณารอฉบับหน้า ที่จะตามมาในลำดับต่อไปนะครับผม
โดยในอีกงาน A Universal Aesthetic Collectible Beads ของ Robert K.Liu (1995) บรรรณาธิการคนสำคัญของวารสารว่าด้วยลูกปัดของโลก ได้นำภาพลูกปัดบ้านเชียงทั้ง ๓ แบบลงเต็มหน้าพร้อมกับข้อเขียนกำกับว่า “ ... ลูกปัดบ้านเชียงทั้ง ๓ แบบ (หลอดแก้ว ถังเบียร์ กระบอก แว่นหรือหลอด) ที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมเครื่องปั้นเขียนสีน่าจะนับเป็นลูกปัดไทยที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด ... ” โดยระบุว่ามักพบร่วมกับลูกปัดหินคาร์เนเลียน ควอทซ์ และหินแข็งอื่น ๆ โดยมีเพียงลูกปัดแว่นแก้วสีเหลืองส้มที่กำหนดค่าอายุได้แล้วที่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๓ พร้อมกับระบุเช่นกันว่าลูกปัดหลอดแก้วบ้านเชียงนี้นับเป็นลูกปัดที่ยาวที่สุดในเอเชีย รวมทั้งบอกด้วยว่ามีการพบเครื่องประดับแก้วสีฟ้ารูปเลข ๑ (comma-shaped pendant reminiscent of magatama) ที่ร่วมสมัยกันกับลูกปัดถังเบียร์บ้านเชียงด้วย
ผลงานสำคัญที่แทบทุกงานใช้อ้างอิง คืองาน Asia’s Maritime Bead Trade 300 B.C. to Present ของ Peter Francis, Jr. (2002, University of Hawaii Press) ซึ่งระบุว่าในประเทศไทยมี ๒ แหล่งที่พบลูกปัดแก้วที่ไม่สามารถเชื่อมได้กับแหล่งผลิตแก้วอื่นใดได้ คือ ที่แหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชรและบ้านเชียง ที่มีอายุสมัยพุทธศตวรรษที่ ๒ และ พุทธศตวรรษที่ ๖ – ๘ ตามลำดับ หลังชี้ถึงความสำคัญของแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงแล้ว Peter Francis Jr. ระบุว่าการพบลูกปัดบ้านเชียงจากการขุดค้นทางโบราณคดีนั้นน้อยมาก มีแต่ลูกปัดแก้วทรงแว่นสีเหลืองส้มเท่านั้น นอกนั้นล้วนมีที่มาไม่ชัดเจน เพียงเป็นไปได้ว่า (ทั้งในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และในคลังแสดงเอกชน) เป็นของจากวัฒนธรรมบ้านเชียง ทั้งทรงถังเบียร์ (truncated bicone beads) ทรงหลอดแก้วยาว รวมถึงต่างหูวงกลมตัว C จากนั้นยังย้ำอีกว่าที่อภิปรายทั้งหมด มิได้มาจากการขุดค้นทางโบราณคดี หรือแม้กระทั่งจากการพบบนพื้นผิวหรือการลักลอบขุดมา เขาแสดงข้อมูลว่ามีรายงานถึงลูกปัดบ้านเขียงในแทบทุกงาน (Labbe 1985,66-69; R.K.Liu 1985; 1995a,84-87) ตัวอย่างจากการขุดค้นจาก Late period X (ยุคสำริดตอนปลาย 2) อายุ 300 B.C. – A.D. 300 (J.C.White 1983,55; 1990, 128) กับอีกเล็กน้อยจาก Middle Period VIII (ยุคสำริดตอนกลาง ช่วง 2) อายุ 800 – 400 B.C. (J.C.White 1983,55; 1990, 128; Nikon 1979, 47) โดยไม่มีที่เก่าเกิน 500 B.C. (พิสิษฐ์ เจริญวงศ์, 1984, สัมภาษณ์) โดยเขาได้ทำการวิเคราะห์ลูกปัด ๕ เม็ด (ทรงถังเบียร์ ๒ ทรงหลอด ๒ ต่างหู ๑ ) พบว่าเป็นแก้วโปแตสชนิดมีอลูมินัมสูงไลม์ต่ำ (Basa et.al. 1991, 376; Salisbury and Glover 1997,11) เต็มไปด้วยฟองอากาศและสิ่งเจือปนอาจจากดินที่ส่งผลให้เปราะและแตกง่าย การขึ้นรูปใช้วิธีง่าย ๆ ม้วนพันหรือดึง เขาสรุปว่าลูกปัดทรงถังเบียร์ทำด้วยการม้วนพันบนก้านเป็น ๒ ซีกรูปโคน ขณะที่ทรงหลอดใช้แก้วคุณภาพดีกว่ามาม้วนพับ โดยที่ทั้งสองชนิดนี้มีพบแต่บริเวณบ้านเชียงเท่านั้น นำมาซึ่งข้อสันนิษฐานว่าอาจทำขึ้นที่บริเวณนี้ หรือไม่ก็เพื่อสนองความต้องการของผู้คนกลุ่มนี้ เฉพาะอย่างยิ่งลูกปัดรูปทรงหลอดที่นับว่าเป็นลูกปัดขนาดยาวที่สุดที่พบแล้ว และพบว่าลูกปัดหินรูปทรงนี้เป็นที่นิยมในบริเวณนี้มาก่อน ก็ยิ่งสนับสนุนการผลิตขึ้นเพื่อพื้นที่นี้ ปัญหาสำคัญว่าใครเป็นผู้ผลิตลูกปัดแก้วกลุ่มนี้ Peter Francis, Jr. ชี้ว่าการที่ไม่พบตะกั่วในแก้วทำชี้ชัดว่าไม่ใช่จีนเนื่องด้วยในช่วงนั้นยังไม่มีแก้วในจีนที่ปราศจากตะกั่ว ขณะที่รูปทรงนี้ก็ไม่มีพบในอินเดียและวัฒนธรรมซาหวิ่น พร้อมกับตั้งคำถามว่าเป็นไปได้ไหมว่าผลิตขึ้นในท้องถิ่นที่รู้ว่าเป็นรูปทรงที่เป็นที่นิยม
ทว่า ผมดูรูปลูกปัดที่ปีเตอร์ ฟรานซิส ใช้ประกอบแล้ว สงสัย
ให้หายข้องใจ ไว้ซื้อเมืองโบราณอ่านนะครับ
เพราะรูปสุดยอด นอกจากที่จัดหาเองแล้ว
ยังได้จาก
เชน ชุมพร
Somboon Patimaarak
และ
ติ้วติ้ว ชุมโชติ
ครับผม๖ มค.๖๔ ๑๕๕๕ น.
บ้านบวรรัตน์ ท่าวัง เมืองนคร