logo_new.jpg

ก็กายคตาสติอันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร
จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
On Gayakatasati To Practice
(bunchar.com การพระศาสนา 20240301_6)
ณ ขณะนี้ที่กำลังถวายน้ำสรงศพท่านเจ้าคุณมหาอินศร ที่ วัดญาณเวศกวัน
แต่พอดีผมติดกิจเพิ่งเสร็จสักครู่ มิอาจไปร่วมได้ด้วยตัวเอง
นี้ที่ได้ไปรับท่านเมื่อวานนี้ จึงขอเชิญชวนน้อมใจถวายสักการะพร้อมกันขอรับ
(๑) ก็กายคตาสติอันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร
จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
1. มีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว - หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น - หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น
สำเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก - ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก - ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า
เมื่อภิกษุไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติฯ
2. รู้ชัดการทรงกาย
ภิกษุเดินอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังเดิน
หรือยืนอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังยืน
หรือนั่งอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังนั่ง
หรือนอนอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังนอน
หรือเธอทรงกายโดยอาการใดๆ อยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังทรงกายโดยอาการนั้นๆ
เมื่อภิกษุไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริ พล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
3. รู้สึกตัวในทุกอริยาบท
ภิกษุย่อมเป็นผู้ทำความรู้สึกตัวในเวลาก้าวไปและถอยกลับ
ในเวลาแลดู และเหลียวดู
ในเวลางอแขนและเหยียดแขน
ในเวลาทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร
ในเวลา ฉัน ดื่มเคี้ยว และลิ้ม
ในเวลาถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ
ในเวลา เดิน ยืน นั่ง นอนหลับ ตื่น พูด และนิ่ง
เมื่อภิกษุไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ
4. พิจารณาความไม่สะอาดของร่างกาย (ปฏิกูล)
ภิกษุย่อมพิจารณากายนี้ ข้างบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป ข้างล่างแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่ามีอยู่ในกายนี้
เมื่อภิกษุไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ
5. พิจารณากายโดยธาตุ
ภิกษุย่อมพิจารณากายนี้ตามที่ตั้งอยู่ ตามที่ดำรงอยู่โดยธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม
เมื่อภิกษุไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ
อ้างอิง:
(๑) กายคตาสติสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ ข้อที่ ๒๙๔-๓๑๗ หน้า ๑๖๑-๑๗๑
(๒) ปสาทกรธัมมาทิบาลี พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ ข้อที่ ๒๒๕-๒๔๖ หน้า ๔๒-๔๕
๑ มีนา ๖๗ ๑๖๓๕ น.
บ้านท่าวัง สะพานควาย กทม.

 

 

 

 

 

 

Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//