logo_new.jpg

๓ ถ้ำดึกดำบรรพ์ไม่ธรรมดาที่กระบี่
กับพระรูปหนึ่งซึ่งไม่ธรรมดาเหมือนกัน

ในรายการเที่ยวกระบี่บก นอกจาก คลองท่อม สระมรกต น้ำตกร้อน บ่อน้ำร้อนเค็ม แล้วก็มี วัดถ้ำเสืออีกแห่ง รอบนี้ผมพบมีเวลาได้แวะไปอีกรอบ รวมทั้งเลยไปอีก ๒ ถ้ำสำคัญเสียด้วย เพราะล้วนแต่ไม่ธรรมดา

ขอเริ่มที่ "ถ้ำหลังโรงเรียน" อยู่ห่างจากตัวเมืองเพียงไม่กี่กิโล บนเส้นทางไปน้ำตกห้วยโต้ เป็นถ้ำที่มีการสำรวจศึกษาและขุดค้นเมื่อ ๒-๓๐ ปีมานี้ จนได้ข้อสรุปว่า มีบรรพบุรุษของมนุษย์ ตั้งแต่แรก Hominid - Homo Sapiens มาอยู่ และอาจจะเป็นช่งแรกที่เริ่มมีการอพยพผ่านลงไปทางใต้ ก่อนที่ระดับน้ำทะเลจะท่วมจนกลายเป็นเกาะแก่งของอินโดนีเซีย เมื่อประมาณ ๓๗,๐๐๐ - ๔๕,๐๐๐ ปีก่อนโน้น

สภาพที่เห็น ยังคงความสวยสลับซับซ้อนด้วยหลืบและคูหามากมายแม้หินงอกหินย้อยจะตายแห้งหมดแล้ว ตั้งอยู่หลังโรงเรียบทับปริกนิดเดียว มีป้ายตั้งอยู่ ๓ ป้าย แต่ดูว่าทางโรงเรียนไม่ได้มามีส่วนร่วมอะไรอย่างน่าเสียดาย

"ถ้ำหมอเขียว" อยู่ไม่ไกลกัน บนทางไปเขาพนมเบญจา ที่บ้านหน้าชิง ต้องบุกลงไปในสวนยาง มีสระน้ำอยู่ด้านหน้า หาป้ายอะไรไม่เจอ นอกจากรอยถูกขุดหาอะไรไม่นานมานี้ ในขณะที่บนหน้าเพิงผายังเต็มไปด้วยป่าครึ้ม พบเปลือกหอยมากมาย ไม่แน่ใจว่าของแต่ก่อนหรือคนมาขุดค้นเอามากินทิ้งไว้

สุดท้ายที่ "ถ้ำเสือ" ที่ทุกวันนี้แปลงเป็นวัดวิปัสสนาพร้อมสถานที่ท่องเที่ยวทำบุญจนเต็มไปด้วยป้ายชวนทำบุญซื้อของขลังทั่วทั้งวัด (มีต่อ)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ลูกปัดที่ควนลูกปัด คลองท่อม

หลังผ่าน ๒ ส่วนแรกของพิพิธภัณฑ์ลูกปัดวัดคลองท่อม จึงถึงส่วนที่สามซึ่งให้ภาพรวมของลูกปัดคลองท่อม เริ่มจากแผนที่อาณาบริเวณที่ทุกวันนี้เป็นเพียงเนินสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๑๐ เมตร ไกลจากฝั่งทะเลอันดามันลึกเข้ามาถึง ๑๕ กม. ผ่านสาแหรกสาขามากมาย พร้อมนิทรรศการบอกถึงงานโบราณคดีที่คลองท่อมซึ่งมีทำกันมาเรื่อย ๆ ตั้งแต่ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๖ แต่ใคร ๆ ในโลกล้วนสงสัยว่าทำไมถึงทำกันน้อยนักทั้ง ๆ ที่เป็นแหล่งสำคัญมาก ๆ ในระดับโลก จนถึงกับมีข้อสันนิษฐานว่าอาจจะคือ ตะโกลา ตามตำราภูมิศาสตร์ของโตเลมีที่เขียนที่ปากแม่น้ำไนล์เมื่อพุทธศตวรรษที่ ๗ โน่น

ตลอดส่วนที่สองนี้ นำเสนอภาพลูกปัดแบบต่าง ๆ ของคลองท่อม จากของจริงที่จัดแสดงในตู้ชั้นบนของพิพิธภัณฑ์ กับ จากสุธีรัตนามูลนิธิ ที่ผมจัดให้ ตั้งแต่ สุริยเทพ ตราประทับ จี้ รูปสัตว์ แก้วโมเสก นกแสงตะวัน อำพันทอง หลอด เขียนสี เหรียญตรา เครื่องประดับ เครื่องใช้สำริด ดินเผา หิน ฯลฯ โดยรูปสำริดชิ้นหนึ่งที่จัดวางแสดงอยู่ด้วยนั้น ถือเป็นปริศนาสำคัญ เพราะไม่รู้ที่มาว่าได้มาจากไหน ใครเอามาให้ หากมีหลักฐานว่าเป็นของพบที่คลองท่อมด้วย จะมีความสำคัญอย่างยิ่ง

ที่ท้ายปลายห้อง นอกจากมีหม้อไหวางไว้แล้ว ยังมีเบ้าหลอม ก้อนหินและแก้วที่เป็นวัตถุดิบในการผลิต พร้อมรูปแสดงสว่านธนูแบบดึกดำบรรพ์ที่เชื่อว่าใช้แบบนี้เจาะรูมาตั้งแต่สมัยโน้นจนแม้ทุกวันนี้ที่อินเดียก็ยังทำกันอยู่

สำหรับแก้วนั้น ยังมีภาพแสดงขั้นตอนวิธีทำลูกปัดแก้วแบบต่าง ๆ ทั้งแบบยืดเป็นแท่งแล้วม้วนพัน หรือดึงเป็นหลอด และหยอดเป็นเม็ด เหล่านี้เป็นหลักฐานที่แสดงว่า ที่นี่เป็นแหล่งผลิตและค้าลูกปัดที่สำคัญ

พรุ่งนี้จะเอาของจริงที่จัดแสดงมาให้ดูนะครับ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

3

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อีกน้องสาวที่เชื่อว่าจะก้าวหน้ากว่าผม ด้วย "บุญมีฤทธิ์"
และ "อุ้มผาง" "เผอะผะ" กะ "แม่กอง"

ตอนนี้พาแม่มาหาหมอ ก็เลยจับเจ่าอยู่หน้าจอ
แล้วโพสต์ของตู่ จิรา อดีตทีมทีวีบูรพากะฅนค้นคน ที่ผันตัวออกมาก่อตั้งทีม "บุญมีฤทธิ์" ทำสารพัดตาม "ฤทธิ์" แห่งบุญที่เธอมีและบ่มเพาะพัฒนา

เธอบอกว่าเพิ่งกลับมาจาก "อุ้มผาง" แล้วผมถามกลับอย่างนี้ว่า
เลยไปถึง "เผอะผะ" มาหรือเปล่าครับ
Jira Bunprasop คือ รับมุขคุณหมอไม่ทัน ฮ่าๆๆ
Bunchar Pongpanich อ้าว หากไม่รู้จัก "เผอะผะ" ก็ยังไม่ไกลเกินกว่า Jira Bunprasop งงงงหนักเลย เข้าไปใน มอทะ ยาโม่คี เชอยอ กะลอหว่อ และอืน ๆๆๆ ชื่อกะเหรี่ยงจำยากค่ะ แต่"เผอะผะ" นี่สารภาพว่าคือครั้งแรกทึ่ได้ยินค่ะ
Bunchar Pongpanich งั้นขอแชร์ แล้าจะเฉลยในแชร์

เรื่องนี้มีความเป็นมาอย่างนี้ครับ

เมื่อปีที่แรกตั้งพรรคไทยรักไทยลงสนามเลือกตั้งครั้งแรกที่เปลี่ยนประเทศไทยด้วยคำขวัญ "คิดใหม่ทำใหม่" จนชนะถล่มทลายนั้น ผมหนีเลือกตั้งไป "ทีลอซู" ซื้อเสื้อของพรรคนี้ไปใส่ฉลอง เพราะชอบใจวิธีคิดแม้มิได้สนับสนุนเป็นการเฉพาะ (จริง ๆ ในชีวิตนี้ ผมหนีเลือกตั้งมา ๒ หน อีกคนเก่ากว่านี้ เลือกขึ้นดอยอินทนนท์ในทำนอง "ขึ้นดอยดูคนกัดกัน")

การไปรอบนั้น ใช้วิธีนั่งกะบะท้ายรถจากแม่สอด ผ่านอุ้มผาง พบพระ กว่าจะถึงทีลอซู นอนกระโจม ล่องทีลอจ่อทีลอเร แบบสมบุกสมบัน แต่ "สุดยอด"

และได้รู้บางอย่างที่ไม่แน่ว่าใช่ จึงลองถาม "ฅนช่างค้น ตู่ จิรา" เผื่อว่าเธอจะช่วยค้นต่อ

๑) เขาเล่าว่า ที่ "พบพระ" นั้นเป็นแดนปกากญอ มีชื่เดิมเรียกว่า "เผอะผะ" คล้าย ๆ ว่ากว่าจะมาถึงก็ "เผอะผะ ๆ ๆ" กันตาม ๆ กัน เพิ่งถูก "พี่ไทย" มาทำให้เป็นไทย ว่า "พบพระ" แบบไม่ค่อยเข้าใจ แต่ก็ต้องทำใจในปราถนาดี ที่จะให้พวกเขา "พบพระ" แต่ไม่รู้ว่าพี่ไทยเองนั้น "ยังมีพระให้พบไหม?"

๒) ระหว่างทางมีดินแดนและสายน้ำสลับไปมา อ่านป้ายได้ว่า "แม่กองโน่น แม่กองนี่" อยู่เป็นระยะ ๆ ก็เลยถามได้ความว่า แถบนี้มี "แม่กอง" มากมายหลาย "กอง" คล้าย ๆ เป็นตำแหน่งของการตั้ง "กอง" ตลอดสายน้ำ ซึ่งนี้คือ "ต้นน้ำแม่กลอง" ของไทยที่ไหลลงไปออกราชบุรี - แม่กลอง นั้นเอง แต่ว่า "พี่ไทย(อีกแล้ว)" ไปเปลี่ยนเป็น "แม่กลอง" ให้ดูเป็นไทยไพเราะ เอา "ล" เข้ามากล้ำ จนเสียความเดิม ว่า "แม่-กอง"

ลองค้นกันต่อนะครับ ว่าอะไรกันแน่
และที่ผมฟังเขาเล่ามานั้น "ก็ไม่แน่ว่าจะใช่".

 

 

 

 

 

 

ตอนกลับมาจากอุ้มผาง เธอยังดูเศร้าสลด
แค่แยกแปลงให้อาทิตย์เดียวก็งามคักคัก
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องการ "ระยะ" 
รักษาระยะไว้ให้ "พอดี" แล้วจะงอกงาม

ไปหรือยัง พิพิธภัณฑ์ลูกปัดเมืองไทยที่ดีที่สุด ที่วัดคลองท่อม

เมื่อวานนี้ ที่คลองท่อม อ.วินัย ผู้นำพล บอกว่าเพิ่งกลับมาอีกรอบแล้วตาลาย อะไรจะดีและเปิดประเด็นได้กระเจิดกระเจิงอย่างนี้
ใครยังไม่ได้ผ่านไปอย่าพลาด ผมขอเอาภาพมาให้ผ่านตา แล้วจะขยายความให้ฟังสักวันหนึ่งนะครับ

พิพิธภัณฑ์นี้ เริ่มโดยท่านหวาด หรือ พระครูอาทรฯ จอ.วัดคลองท่อม บอกว่ามีคนนุ่งขาวมาเข้าฝันว่าเฝ้าของมาพันปีจะไปแล้ว ให้ท่านฯ ขุดหามาสร้างวัดได้แล้ว จากนั้นก็เกิดการขุดหาและแบ่งปันกันจนมีทุนสร้างวัดอย่างที่เห็น โดยท่านเลือกเก็บ "ชิ้นเด่น" ไว้เพื่อทำพิพิธภัณฑ์ โดยมี "ข้าราชการที่เกี่ยวข้อง" หลายฝ่ายและคนเวียนกันมาขอตัวอย่าง บอกว่าจะเอาไปวิเคราะห์และเสนอนายเพื่อมาทำพิพิธภัณฑ์ถวายวัด

ท่านบอกว่าเวียนกันมาหลายรอบและคน เอาของไปก็ไม่น้อย สุดท้ายไม่มีความคืบหน้า ท่านจึงเลิกรอแล้วลงมือทำเองทั้งหมด มีคณะอาจารย์ ม.ศิลปากรหลายท่านมาช่วยจนออกมาเป็นพิพิธภัณฑ์ สมเด็จพระเทพเสด็จมา ๒ รอบ กรมศิลปากรก็มาทำหน้าที่รับเสด็จ จากนั้นก็ผ่านกาลเวลา จนท่านชราอาพาธ พิพิธภัณฑ์ก็ผ่านกาลเวลา เมื่อท่านสิ้น คณะกรรมการหลายฝ่าย หารือกันแล้วเห็นควรอนุรักษ์ ดูแลและพัฒนา ด้วยการส่งมอบให้เทศบาลรับธุระ จังหวัดหางบมาให้ปรับปรุงบูรณะ ออกมาเป็นอย่างที่เห็น และใคร ๆ ก็บอกว่า "สุดยอด"

ผมพา อ.เอียน มาเมื่อแรกเสร็จ ยังยกย่องว่ายอดเยี่ยม งานนี้ ผมไม่ทราบว่าจัดการกันอย่างไร รู้แต่ว่าผู้ประมูลได้ เลือกภัณฑารักษ์นักจัดพิพิธภัณฑ์คนหนึ่ง ซึ่งรู้จักผม แต่จำชื่อไม่ได้ แวะเวียนมาหารือหลายรอบ ขอให้ช่วยเป็นที่ปรึกษา ร่วมกับ รอ.บุณยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ แห่งกรมศิลปากร โดยเราไม่ได้รับผลประโยชน์หรือค่าอะไรเลย รวมทั้งไม่เคยลงไปด้วยเลย ได้แต่แนะนำอย่างจริงจัง พร้อมกับเอื้อเฟื้อให้ถ่ายรูปข้าวของในคลัง สุดท้าย ก่อนจะติดตั้ง เขายังเอามาให้ช่วยตรวจตราอย่างละเอียด

งานนี้ เขาทำได้ดีมาก คือ ค้นของทั้งคลังที่เก็บสุมกองไว้ในวัด เอามาจำแนกแยกแยะและจัดแสดงอย่างเป็นระบบและหมวดหมู่

เฉพาะชั้นล่าง แรกเข้า ที่ทำเป็นห้องบรรยายสรุปต้อนรับ ก็น่าดูชม จากนั้นว่าด้วยเรื่องวัดคลองท่อม พิพิธภัณ์แห่งนี้ รวมทั้งท่านพระครูฯ และ อารัมภบทเรื่องปริศนาลูกปัด ก่อนที่แสดงภาพรวมของลูกปัดเท่าที่พบในภาคใต้ จากข้อมูลส่วนหนึ่งที่คุณบุณยฤทธิ์ขุดค้นไว้ และอีกส่วนหนึ่งที่ผมรวบรวมศึกษาไว้

เชิญทัศนากันดู แล้วต้องไปให้ได้ด้วยตัวเองนะครับ

ดูเหมืนอว่าจะปิดทุกวันจันทร์นะครับ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

.3

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ดีใจที่ได้แพ้ "นายเม้งคนนี้" ... แต่พอมีเชิงอยู่บ้าง
เมื่อวานนี้ นายเม้ง ส่งบทความที่เขียนถึงเรื่องเมื่อ ๔ ปีก่อนมาในเชิงบังคับให้ต้องอ่าน แล้วขอไว้ว่าวันนี้จะเล่าของผม "ที่ถือว่าแพ้น้องคนนี้" อีกแล้ว
ตอนนี้แพ้ใคร ๆ ที่เป็นคนรุ่นหลังแล้วผมชอบใจมาก ๆ
อยากแพ้อย่างนี้เรื่อย ๆ เพราะบ่งบอกว่าอนาคตจะต้องดีกว่านี้แน่
ในเมื่อเราทำได้เพียงแค่นี้ แล้วคนรุ่นหลังทำได้ดีกว่าเรา
อนาคตย่อมดีกว่านี้แน่นอน
ตอนผมบวชที่เืองนครแล้วไปอยู่ที่สวนโมกข์ เมื่อ ๓๐ ปีก่อนโน้น
พอได้จังหวะจะสึก ผมก็ขอให้ "ท่านเจ้าคุณอุปัชฌาย์" กำหนดวันสึก
ตามที่ท่านเห็นว่าสมควร เนื่องจากเราก็ถือว่า "อุปัชฌาย์" คือพ่อ
จะลาออกก็ขอท่านกำหนด
ท่านบอกว่าจะให้ "ท่าน..." ผู้ดูฤกษ์ดวงได้ดีเป็นผู้กำหนดฤกษ์ให้
แต่ผมไม่ปล่อยวางได้อย่างนายเม้ง ด้วยการ "ไม่ยอม"
แถมกราบกลับไปเป็นลายลักษณ์ถึงท่านเจ้าคุณอุปัชฌาย์ว่า ผมนับถือและขอท่านเจ้าคุณฯ กำหนด กรุณาอย่าให้คนอื่นมาเป็นผู้กำหนดเลย ยิ่งท่านนั้นที่ผมพอรู้อะไรๆ อย่าได้มาเป็นผู้ดูและกำหนดฤกษ์อะไรให้กระผมเลย
หากท่านเจ้าคุณยังยืนตามฤกษ์ที่ว่า กระผมขอกำหนดเอง
ซึ่งท่านเจ้าคุณก็ตามใจผม โดยได้ให้โยมแม่และน้าพา จัดฉลองพระครั้งใหญ่ท่ามกลางญาติมิตรที่ศาลาการเปรียญวัดจันทาราม ที่ทางบ้านอุปัฏฐากมาสามสี่ชั่วอายุแล้ว
แม้จะแพ้ แต่ก็ยังถือว่าไม่แพ้ราบคาบนะครับเม้ง เชิงพี่ยังพอมีบ้างนะน้อง

 

 

 

 

"เราเลิกกันเหอะ”
ประโยคนี้มันอาจจะไม่เจ็บปวดเท่านี้ ถ้าพูดกันก่อนจะแต่งงาน 
จากที่รอคอยได้เป็นปีๆเพื่อเลือกวันที่ ฤกษ์ดี ที่สุดเพื่อใช้เริ่มชีวิตใหม่กับใครสักคนกลับหมดความหมาย เมื่อถึงวันที่ เลิกดี..กว่า
ในวันที่รักเราไม่เท่ากัน
....................
หลังจบมหาลัย ผมก็เริ่มเข้าสู่วัยที่ได้ไปร่วมงานแต่งอย่างสม่ำเสมอ และช่วงหนึ่งในงานที่ผมสนใจเป็นพิเศษ ก็คือช่วงที่เจ้าบ่าวได้พูดกับแขกเหรื่อที่มาร่วมงาน เพราะผมชอบเอามาคิดว่าเมื่อถึงตาผม ผมจะพูดอะไรดีให้สมกับวันสำคัญที่สุดในชีวิตอย่างนี้
และนี่คือประโยคหนึ่งจากงานๆหนึ่งที่ผมทั้งจดและจำได้มาตลอด
"ถ้าวันนี้มีข้อผิดพลาดประการใด ก็ต้องขออภัยจริงๆเลยนะครับ...เพราะผมคงไม่มีโอกาสแก้ตัวอีกแล้ว"
เชดดดดดดดดดดดดดด โคตรเท่อะ
มันทั้งโรแมนติก ทั้งยังมีอารมณ์ขันนิดๆ ให้พอได้ยินเสียงหัวเราะหน่อยๆ ดูมีรสนิยมสุดๆ 
นี่ขนาดผมไม่ได้เป็นเจ้าสาวของเขายังชอบขนาดนี้ ไม่รู้เจ้าสาวจะเคลิ้มขนาดไหน จบงาน ผมปักไว้เลยว่านี่คือ Benchmark เอาเป็นว่าถ้างานผม ผมต้องพูดให้เจ๋งไม่น้อยกว่านี้

 

...ต่อมาไม่นานนัก คู่นี้ก็เลิกกัน

เดิมทีผมเองก็ไม่ค่อยเชื่อเรื่องดวงนัก จนมาบวชเรียนที่สวนโมกข์ ไชยา จาก’ไม่ค่อย’ ก็หนักแน่นขึ้นจนไม่เชื่อเลย เพราะฤกษ์งามยามดีอยู่ที่การกระทำของเราต่างหาก เมื่อเนื้อแท้ของพุทธศาสนาสอนให้เราเป็นผู้ตื่นรู้ จากความหวาดกลัวต่อโชคชะตา ราศี และดวงดาว แต่ที่ตลกก็คือชาวพุทธหลายคนจะบวชก็ยังจะต้องดูฤกษ์บวช จะสึกก็ยังต้องดูฤกษ์สึก?!? 
ผมพอจำที่ท่านอาจารย์พุทธทาสเคยพูดถึงการ ’สึก'ไว้ว่า สึกมันก็มาจาก สึกหรอ จากชีวิตสมณเพศที่สูงกว่า ก็เลือกที่จะกลับไปทางโลกที่ต่ำกว่า มันก็คือชีวิตที่สึกหรอลงไป ดังนั้นการสึกมันก็ไม่ต้องไปดูฤกษ์ให้มันดีหรอก เพราะถ้าจะ'สึก'มันก็ไม่ดีอยู่แล้ว

๖ เดือนผ่านไปในการบวชเรียน ถึงกำหนดที่ผมต้องสึก และคนที่รอวันนี้มาตลอดก็คือป๊าม้าของผม แต่แน่นอนการสึกครั้งนี้จะต้องไม่มีการดูฤกษ์สึกให้เสียชื่อศิษย์สวนโมกข์

ผมบอกป๊าม้าไปว่าให้เลือกวันจากความสะดวก ว่างพอที่ไม่ต้องเร่งรีบทำอะไร ผมจะสึกวันนั้น แถมยังย้ำถึงเรื่องการว่าไม่ต้องไปดูฤกษ์อยู่หลายครั้ง เพราะแม้ผมจะเป็นคนที่สึกหรอ แต่ในวันสุดท้ายในเพศสมณะ ผมก็อยากแสดงถึงความรู้ธรรมให้กับป๊าม้าของผมเห็น ว่าชีวิตเราจะดีได้โดยไม่ต้องพึ่งฤกษ์ยาม..นี่คือของขวัญที่ผมนำมาฝากป๊าม้าของผม

....อีกไม่กี่วันป๊าม้าผมก็กลับมาพร้อมของขวัญชิ้นพิเศษเช่นกัน เพื่อรับขวัญลูกชายในวันสึก ก็คือ ฤกษ์สึก!...นั่นไง!

แม้ป๊าและม้าจะบอกว่าก็แค่ไปดูไว้เฉยๆ ไม่ต้องตามนี้ก็ได้ แล้วแต่พระ 
แต่ผมก็พอรู้ว่าถ้าไม่ตามฤกษ์นี้ พวกเขาก็จะไม่สบายใจ แม้ผมเชื่อว่าวันสึก วันไหนก็เหมือนกัน ถ้าเลือกตามฤกษ์ไป พ่อแม่สบายใจ แต่เท่ากับ ๖เดือนที่ผ่านมา การกลับมาวันแรกของผม ไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปเลย ทุกอย่างก็ยังเหมือนเดิม และป๊าม้าของผมก็จะยังยึดถือการใช้ชีวิตตามฤกษ์ยามต่อไป

เมื่อคนที่ผมต้องปรึกษากลับปรึกษาปัญหาชีวิตไม่ได้ ชีวิตนี้ช่างว้าเหว่ยิ่งนัก โชคดีที่ผมยังเหลืออีกคน

ผมเอาเรื่องทั้งหมดนี้โทรกลับไปปรึกษาพระอาจารย์ที่สั่งสอนผม เพราะแน่ใจว่าท่านอาจารย์ในสถาบันแห่งสวนโมกข์ จะช่วยเติมความมั่นใจไม่หวั่นไหวต่อวิถีทางแห่งโชคลาง...แต่ผิดคาดพระอาจารย์กลับอยู่ข้างป๊าม้าของผม!
"ดูให้ดี พ่อแม่เขาดูฤกษ์มา ก็เพราะเขารักเราไม่ใช่เหรอ อยากให้ลูกได้สิ่งดีๆ” ผมเลยรีบแย้งว่าที่จะไม่สึกตามฤกษ์ ก็เพื่อให้ป๊าม้าเลิกยึดถือเรื่องฤกษ์ยามซะที ก่อนที่พระอาจารย์ตอบกลับกึ่งเตือนสติผมว่า “แล้วการที่ยังไงเราก็จะไม่เลือกจะตามฤกษ์ มันก็คือการยึดถือไปอย่างหนึ่งเหมือนกัน ถ้าเราวันไหนก็ได้จริงๆ ก็ตามใจเขาสิ”
ท่านอาจารย์พูดแทงใจดำผม ก่อนจะสำทับให้ผมตื่นขึ้น 
“มันไม่ใช่แค่วันนี้หรอก แต่ทุกวันหลังจากนี้ไปต่างหาก ที่เราจะต้องแสดงให้เขาเห็น เห็นว่าเราเปลี่ยนแปลงอย่างไร ดีขึ้นยังไงบ้าง นี่ไม่ใช่เหรอที่เราต้องทำไปทุกวัน ต่อจากนี้”

นั่นสิครับ ผมมันแค่รู้ธรรม แต่ไม่รู้ทำ การอยากให้ใครเชื่อ มันไม่ใช่การบอกให้เชื่อ แต่ต้อง”ทำ”ให้เขาเชื่อ เพราะถ้าผมเชื่อว่าดีจริงๆ ผมก็ต้องเชื่อพอที่จะทำมันได้ทุกวัน 
พระพุทธเจ้าบำเพ็ญทุกรกริยาติดต่อกัน ๖ ปี จนเหล่าปัจจวัคคีย์ศรัทธา ดาบวิชัยเดินปลูกต้นไม้จากแล้งจนเขียวเต็มศรีษะเกษแม้คนจะหาว่าบ้า เพราะความจริงต้นไม้แห่งโพธิไม่ได้โตขึ้นมาวันเดียว แต่ต้องทำทุกวัน 
เมื่อ ‘สึก’แล้ว หน้าที่ของผมก็คือต้อง’ทำ'มันให้เต็ม 
ถึงตอนนี้การเชื่อฤกษ์งามยามดี หรือไม่ ไม่ใช่เรื่องสำคัญต่อไป เพราะ ฤกษ์งาม ยาม(ที่เรา)ดี

..ผมตัดสินใจสึกในฤกษ์ที่ป๊าม้าเลือกมา โดยวันนั้นตรงกับวันเกิดของอาม้าผมพอดี เหมือนเป็นของขวัญให้อาม้า
.......................

หลังจากนั้นอีก๙เดือน ผมก็เข้าพิธีสมรสกับแฟนโดยไม่ได้ดูฤกษ์ยามใดๆ และป๊าม้าของผมก็ไม่ขัดข้องประการใด

ในวันงานผมไม่ได้กล่าวคำอะไรเท่ๆที่เคยเตรียมไว้ แต่เลือกที่จะเปิดเสียงท่านอาจารย์พุทธทาส ท่อนหนึ่งที่เทศน์ไว้ในธรรมะสำหรับคู่สมรส ที่เปลี่ยนชุดความคิดและความรักของผมไปอย่างสิ้นเชิง

"สมรส มาจาก สม(สะ-มะ)ที่แปลว่า เสมอ กับคำว่ารส สมรส ก็คือมีรส(นิยม)เสมอกัน"

ครับ จะสม..รสกันได้ ก็ต้องเป็นคนที่’เสมอ’กันได้ จะ’เสมอ’กันได้ ก็ต้องไม่มีใครเอาชนะกัน เมื่อไม่มีใครชนะกัน เราก็จะกลายเป็นคนที่รัก’เสมอ’ เมื่อรักเสมอ เราก็จะคิดถึง'เสมอ' คิดแต่ว่าเราจะลดบางอย่างลง หรือพัฒนาบางอย่างให้มันดีขึ้น และทำให้เชื่อ’เสมอ’ เชื่อว่าถ้าเรารักกันมากพอ เราจะเปลี่ยนตัวเองให้ดีอยู่ ’เสมอ' เราจะช่วยกันเติมเต็มในส่วนที่สึกหรอบกพร่องให้เราเสมอกัน แล้วเราจะทำให้ทุกวันอย่างสม่ำ ‘เสมอ'

เพราะเรารักกัน’เสมอ’ เราถึงสม..รสกัน

สมรส ที่แท้จึงไม่ได้เอาไว้ตัดสินว่าเราจะเหมาะสมที่จะอยู่คู่กับใคร แต่สมรส คือการตัดสินใจที่จะทำตัวเองให้เหมาะสมกับคนที่เรารักให้ได้มากที่สุด 
ดังนั้นถ้าวันแต่งงานมีข้อผิดพลาดประการใด ที่ไม่อาจจะไม่มีโอกาสแก้ตัวได้แล้วก็ไม่เป็นไร เพราะวันแต่งงานมีฤกษ์งามยามดีแค่แค่วันเดียว แต่ชีวิตสมรสของแท้เริ่มต่อจากวันนี้ มันต้องการให้เราทั้งสอง"ทำ"ทุกๆวันหลังจากนี้ต่างหากให้ดีวัน ดีคืน เรายังสามารถแก้ตัวได้ทุกวัน โดยเฉพาะแก้ตัว..ตน ทิฐฐิมานะ ให้ลดลง คงน่าเสียดายถ้าเราจะยุติชีวิตสมรส เพียงเพราะเราเริ่มคิดไม่เหมือนกัน เราเริ่มชอบไม่เหมือนกัน เราเริ่มเชื่อไม่เหมือนกัน แล้วเราก็เอาสิ่งเหล่านี้มาตัดสินเลยว่าเราเข้ากันไม่ได้ เราก็เลยเลิกกัน เพราะคิดว่าเราคงเปลี่ยนเขาไม่ได้...แต่เราไม่เคยคิดเปลี่ยนเราเอง

ถ้าคุณเพิ่งเลิกกันไป แล้วคุณก็ยังรู้สึกว่าได้ทำอะไรผิดพลาดไปสักอย่าง ใจมันยังคิดถึง'เสมอ’ ใจยังรัก’เสมอ’ อยู่ มาลองแก้"ตัว"อีกครั้งไหมครับ
วันดี ‘คืนดี’ อาจจะพาให้คุณกลับมาสมรสกันอีกครั้งก็ได้ครับ

แด่คู่สมรสทุกคู่ ที่พร้อมจะเติมเต็มส่วนที่"สึก"หรอของหัวใจให้เสมอกัน

"เราดี ดีกว่าดวง เพราะดีนั้นมีที่เรา, ดีกว่าที่ดวง ทำดีนั่นแหละเราหน่วง เอาดีทั้งปวง มาทำให้ดวง มันดี” - พุทธทาสภิกขุ

.........
จากคอลัมน์ ย้ำคิดย้ำธรรม : a day 168
บอกฤกษ์ - บอกเลิกa day magazine

Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//