logo_new.jpg

อ่าวใหญ่และคลองหนูเท่าที่ได้เห็น
น่าจะเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญมากอีกแห่งหนึ่ง
ร่วมสมัยตั้งแต่สุวรรณภูมิกับเขาสามแก้วแล้ว

ผมขออนุญาตลัดตัดกลับไปที่พม่าแต่ไม่ถึงทวายที่ขึ้นเครื่องมาลงเกาะสอง แล้วพอดีเจอคนที่ย่างกุ้งอาสาให้ญาติพี่น้องที่อ่าวใหญ่มารับจากสนามบินนั่งรถไปคลองหนู ซึ่งเครื่องเสียเวลากว่าชั่วโมง เราก็เหลือเวลาน้อย ลงเครื่องจึงบึ่งเข้าอ่าวใหญ่ทันที ทั้งรถที่เขามารับและรถที่เราเช่าไว้ นั่งรถไปไกลเกินชั่วโมง บังเอิญว่าหลายคนบอกว่ารู้จักผมและพูดไทยกันทั้งนั้น ผมจึงขอให้หุงข้าวไว้รอท่า พอไปถึงก็รีบกินข้าวแล้วลงเรือต่อไปคลองหนูโดย ๓ อาจารย์ฝรั่งได้รับการดูแลกางร่มให้เป็นพิเศษ ทั้งนี้เรือไม่ได้ออกนอกทะเล เพียงพุ่งออกปากคลองที่อ่าวใหญ่แล้วเลี้ยวเข้าคลองหนูประเดี๋ยวเดียวก็เจอถนนดินที่ทำค้างอยู่ บอกว่าเดินบกทางนี้ไปไม่นานก็ถึงที่ผมระบุในแผนที่ "รอยลูกปัด" ว่าชื่อ "ดึ๋งดึ๋ง" เราก็เลยเรียก "ดึ๋งดึ๋ง" กันตามที่หมอเขียนในแผนที่ เป็นอย่างนั้นไป

ก่อนถึงจุดที่เจอลูกปัด มีเรือของเจ้าของที่สวนออกมา เขาเก็บมะม่วงหิมพานต์ไปทำต่อที่บ้าน ในขณะที่เราก็พุ่งเข้าฝั่งแล้วลงไปเดินดูบริเวณซึ่งเต็มไปด้วยหลุม มีรางล้างอย่างกะเหมืองแร่น้อย ๆ ส่วนเศษกระเบื้องมีไม่มากนัก ทั้งหมดเป็นสวน "ยาร่วง" หลายเจ้าของ ที่ยอมให้เข้ามาขุดหา ชายเจ้าของเรือรีบพาไปดูจุดที่พบแหวนทองคำที่หัวเป็นรูปคนสองคนยืนคู่กัน ดร.บริจิตต์เจอเศษภาชนะรูเล็ตต์แวร์จากอินเดียชิ้นหนึ่ง ในขณะที่ผมดันไปสนใจกอกล้วยไม้ในดง ได้รูปและต้นมาด้วยดอกสวยดีแม้จะเล็กนิดเดียวก็ตาม

จากนั้นก็ต้องรีบกลับ เดี๋ยวไม่ทันข้ามแดนที่เกาะสอง-ระนอง ถึงหมู่บ้านที่ริมน้ำ อ.เอียนให้ถ่ายรูปริมน้ำที่มีข้าวของเกลื่อนกลาด บอกว่านี้จะเป็นหลักฐานโบราณคดีในอนาคตของคนข้างหน้า

จากนั้นก็รีบออกเดินทางต่อ โดยได้ดูสร้อยลูกปัดกับเศษต่าง ๆ แบบผ่าน ๆ เพราะเวลาไม่มีและไม่ได้ตั้งใจจะไปซื้อหา ขอแต่เพียงได้เห็นสถานที่เป็นพอ

จากนั้นเราก็ต้องรีบออกเดินทางวกกลับออกไปที่ถนนใหญ่ แล้วแวะแหล่งเขมายี้ประเดี๋ยวเดียวเท่านั้นก็ออกเดินทางกลับเกาะสองครับ พรุ่งนี้ค่อยเล่าเรื่องเขมายี้นะครับ

หากดูแผนที่ ก็จะพบว่าอ่าวใหญ่-คลองหนูนั้นอยู่ในระดับเส้นแวงต่ำจากเขาสามแก้ว-ชุมพรนิดเดียว จากแผนที่ ตรง Su ngai I Nu นั้นแหละคือคลองหนู มีอ่าวใหญ่อยู่เหนือขึ้นไป ใต้จาก Su ngai Batu ถนนที่เราไปไม่ใช่เส้นเลียบทะเล แต่เป็นเส้นใน ผ่านหมู่บ้านมะลิวันที่มีคลองไหลไปลงแม่น้ำปากจั่น-กระบุรี แม่น้ำอีกสายที่ไหลลงปากจั่นเหมือนกัน แต่เหนือขึ้นมานั่นแหละคือคลองเขมายี้ ตอนนี้ผมก็รู้พิกัดตำแหน่งแห่งหนของทั้งคลองหนูและเขมายี้เป็นที่ชัดเจน การตั้งอยู่ตรงข้ามกับเขาสามแก้ว และมีเส้นทางน้ำต่อเนื่องกันจนเกือบข้ามคาบสมุทรอย่างนี้นี่เอง จึงกลายเป็นสถานที่ค้าและผลิตลูกปัดสำคัญมาแต่เดิม ซึ่งยิ่งสนับสนุนข้อสันนิษฐาน "สุวรรณภูมิ" ของผมยิ่งขึ้น ในขณะที่อาจารย์ฝรั่งทั้ง ๓ ก็ตื่นตาและพากันเห็นด้วยว่าตรงนี้น่าจะสำคัญมาก ๆ ไม่แพ้เขาสามแก้ว

 

แต่น่าจะสายและอยู่ไกลจากศูนย์กลางเกินไปจนเป็นอย่างที่เห็นไปหมด แม้เขาจะบอกว่าบนไหล่เชิงเขาและในหลายพื้นที่ยังไม่มีการบุกรุกและขุดหา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ท่านใดต้องการหนังสือเล่มนี้บ้าง
สามารถสมทบได้ที่สวนโมกข์กรุงเทพนะครับ
ภาพไม่มาก แต่อ้างลูกปัดภาคตะวันนตกและใต้
บางส่วนที่สำคัญและเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
รวมทั้งเมืองโบราณทั่วประเทศที่มีคูน้ำคันดิน
และร่องรอยพระพุทธศาสนาสมัยทวารวดี

ซึ่งถือเป็นร่องรอยสำคัญที่ประมวลมาสังเคราะห์เป็นรอยทางพระพุทธศาสนาแรก ๆ ที่มาสู่ไทยและเอเซียอาคเนย์ ซึ่งน่าจะชี้ถึงเรื่องสุวรรณภูมิด้วยครับ

 

ไม่ได้เป็นหนังสือขาย มีแต่ที่ มจร.และ จีสด้า
สวนโมกข์พิมพ์ออกมาด้วย ไม่ได้ขาย แต่หากท่านสนใจเอาไปศึกษาช่วยสมทบ เล่มละ ๒๕๐ บาท เพื่อนทุนำกลับไปสร้างทำสื่อธรรมอื่น ๆ ต่อไปอีกนะครับ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ขอเชิญชวนน้อมรำลึกถึงพระพุทธองค์
ในพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาคุณ
ผ่านภาพและช่วยกันทำคำอธิบาย
ใต้ภาพพุทธประวัติที่สวยสมบูรณ์ที่สุดชุดหนึ่งนี้

ผมเพิ่งได้เห็นเมื่อเช้านี้ มีผู้เข้าชมมาก 
หลายท่านได้ทำคำบรรยายใต้ภาพไว้บ้างแล้ว
แต่หลายภาพยังว่างอยู่ และมีผู้ร้องขอให้ช่วยทำคำอธิบายใต้ภาพมามาก

สำหรับผมเองนั้น เห็นแล้ว นึกนิยมใน ๓ ประการ
๑) ภาพสวยมาก
๒) ลงรายละเอียดถึงหลายเหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติที่น่าสนใจและบางชุดภาพที่เคยเห็นไม่ค่อยแสดง
๓) ให้รายละเอียดสอดคล้องคล้ายจริง เช่นหมู่แมกไม้ ต้นสาละที่ทรงประสูติและปรินิพพานก็เป็นพุ่มต้นมหาสาละอินเดีย มิใช่ที่ทุกวันนี้ชอบวาดเป็นต้นสาละลังกากันไปหมด โดยเฉพาะในเมืองไทยเราที่เข้าใจผิดพลาดกันไปหมดแล้ว รวมทั้งอาคารบ้านเรือนซุ้มประตูต่าง ๆ ก็เอาตามที่นิยมทำกันในอินเดียโบราณเท่าที่มีหลักฐานหลงเหลือ รวมทั้งหน้าตาผู้คนเครื่องแต่งตัวก็ตรงตามท้องเรื่องคือคนอินเดีย ลังกา แล้วก็พม่า
๔) ขอสันนิษฐานว่าเป็นภาพที่น่าจะวาดและสร้างทำในพม่า เนื่องจากมีร่องรอยพม่ามากเป็นที่สังเกต

 

ใครชอบก็เชิญช่วยนะครับ ภาพเริ่มตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าทีปังกร จนจบที่การสังคายนาพระไตรปิฎกและสลักลงศิลาที่พม่า มัณฑะเลย์ ?

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

..

 

 

 

 

 

 

 

ส่งแอนนากลับเบลเยี่ยมและอังกฤษเมื่อคืนวานนี้
โปรดรอพบหนังสือเล่มพิเศษสุด "ทองที่อู่ทอง"
ที่น่าจะพลิกหลายมิติทั้งเรื่อง "ทองโบราณ" และ "สุวรรณภูมิ"

งานนี้ผมมีหน้าที่น้อยกว่าเธอและโรจน์กะโต
ที่ต้องวิเคราะห์และเรียบเรียง แล้วโรจน์ก็จัดรูปเล่ม
มีโตช่วยถ่ายภาพซ่อมให้ ดังเช่น ๓ ภาพนี้ เป็นเหรียญทองน้อย ๆ จากคลองท่อม ที่แอนนาบอกว่าเหลือเชื่อ เพราะทำด้วยวิธี "หลอม" มิใช่ตอกตีตรา ส่วนเบ้าหินรูปนกฮูกละเอียดมากอันนี้ เล่าฮูแห่งสุราษฎร์ปันให้ผมมาเมื่อครั้งไปหาหนแรก น่าจะถูกบรรจุลงในหนังสือเล่มใหม่ที่วางแผนว่า ต้นฉบับจะให้เสร็จทันสิ้นเดือนมีนาคม แล้วหากเป็นไปตามแผน ก็จะเข้าโรงพิมพ์เพื่อเผยแพร่ทันวันวิสาขบูชา และ อาจารยบูชาท่านอาจารย์พุทธทาส ในเดือน พค.นี้ ผมได้อ่านผ่านตาทั้งเนื้อหาและรูปเล่มแล้ว ประมาณนี้นะครับ

๑) ว่าด้วยอู่ทอง

๒) ว่าด้วยวิวัฒนาการ เทคโนโลยี และทองโบราณในเอเซียอาคเนย์ โดยเฉพาะที่อู่ทองและประเทศไทย

๓) ไล่รายละเอียด "ทองอู่ทอง" ทั้งหลาย ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง, พระนคร และ ในความครอบครองของเอกชน โดยเน้นการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ ทั้ง "เนื้อทอง" และ "เทคนิควิธีการการประดิษฐ์" ตลอดจน "คุณค่าและความหมาย" ก่อนที่จะมีบทสรุป ซึ่งอาจจะให้ร่องรอยเรื่อง "สุวรรณภูมิ" ที่ว่ากันว่าพระพุทธศาสนามาเริ่มปักหลักตั้งมั่นสถาปนาไว้

สำหรับผมเท่าที่ติดตาม หนังสือเล่มนี้จะมีความน่าสนใจมาก ๆ ในหลายประเด็น

๑) เป็นงานวิเคราะห์ "ทองคำโบราณ" ในเชิงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชิ้นแรก ๆ ไม่เฉพาะของเมืองไทยและเอเซียอาคเนย์เท่านั้น

๒) จะมีคุณค่าไม่น้อยแก่หลายวงการ ทั้งประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปะ ประดิษฐกรรม ทองคำ เครื่องประดับถนิมพิมพาภรณ์ ฯลฯ

๓) พิมพ์จำนวนจำกัดมีแต่ภาษาอังกฤษ ด้วยงบประมาณสนับสนุนของ อพท.แต่จะกลายเป็นหนังสืออ้างอิงกว้างไกลของหลายวงการในโลก กำลังเชิญนักวิชาการชั้นนำของโลกช่วยอ่านและเขียนบทนำ ทั้งจาก ACM ที่สิงคโปร์ และ The MET ที่นิวยอร์ค ตั้งเป้าจะส่งไปยังทุกสถาบันชั้นนำของโลกโดยเฉพาะพิพิธภัณฑ์และสถาบันศึกษาในด้านนี้ เพื่อให้ชื่อ "อู่ทอง" ได้รับการยกระดับชั้น "World Class" ในขณะที่ในพื้นที่ก็ต้องปรับปรุงไปด้วยกัน ทราบว่าทุกฝ่ายกำลังเร่งรัดพัฒนากันอยู่

ใครสนใจเป็นพิเศษ กรุณาติดตามนะครับ

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
.
 
 

คัทธนกุมารชาดก ตอนอวสาน

ข้างฝ่ายพระโอรสคนรองที่เกิดแต่เจ้าหญิงสีดา ชื่อ คัทธจัน นึกเป็นห่วงพระบิดา จึงชวนพระเชษฐาอันเกิดจากนางสีไวคือ "คัทธเนตร" เพื่อออกตามหา แต่พระเชษฐาทัดทานให้รอก่อน คัทธจันทนไม่ได้จึงออกตามหาโดยลำพังพร้อมกับขอสัจสัญญาว่าหากตนพบและได้อะไรวิเศษกลับมาห้ามอิจฉาหรือขอแบ่ง เมื่อคัทธจันเสด็จถึงสาถนที่เผาช้างเผือกพระอัยกา จึงทราบได้ด้วยพระปัญญาบารมี พบมีดาบวิเศษอยู่เล่มหนึ่งก็สามารถดึงออกมาครอบครองได้ จนไปถึงเมืองตักกสิลาก็ทราบเรื่องราวที่เจ้าเมืองลวงพระบิดา จึงประหารเจ้าเมืองเป็นท่อน ๆ ทิ้งลอยแม่น้ำโขงแล้วเหาะกลับเมืองจำปานครด้วยงาช้างคู่

ฝ่ายเจ้าคัทธเนตรนั้นมีความริษยาน้องชาย ขอแบ่งงาช้างวิเศษข้างหนึ่งจนถึงขั้นวิวาทรบสู้ด้วยศาสตราวุธจนเดือดร้อนไปทั่วทั้งจักรวาล เหล่าเทพยดาจึงไปขอให้พระอินทร์ลงไปห้ามด้วยการสั่งขุนแถน (อันนี้ก็แปลก เพราะเท่าที่เคยรู้มา "แถน" ท่านว่ากันว่าคือ "พระอินทร์" หรือ "Zeus" นั่นเอง) ให้หาวิธีการ ท่านซัด "ลมพิชฌขอด" หมายถึงลมที่คมกล้าดั่งมีดโกนพ่วงด้วยกระดึงหลวงมีเสียงดังดุจฟ้าผ่าพร้อมกันแสนครั้ง ลงไปใส่สองกุมาร ตัดพระศอของเจ้าคัทธเนตรขาดสิ้นพระชนม์ ส่วนเจ้าคัทธจันรอดได้ด้วยผลแหงความกตัญญูและมีดาบวิเศษคุ้มครอง

หลังสงครามพระวิษณุกรรมเทพบุตรขึ้นไปเฝ้าพระอินทร์บนสวรรค์ ได้รับสถาปนาเป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ปกครองชมพูทวีปทั้งปวงด้วยหลักทศพิธราชธรรม นำพาเมืองจำปานครเจริญรุ่งเรืองและร่มเย็น ส่วนคัทธนกุมารนั้นทรงฟื้นคืนชีพกลับมาครองชีวิตกับพระนางสีดา ชราภาพแล้วนำของวิเศษต่าง ๆ ที่ได้จากนางยักษ์ไปเก็บในถ้ำกลางป่าหิมพานต์ จนมีพระชนมชีพได้ ๑,๐๐๐ ปีก็สวรรคต ไปเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ส่วนพตะเจ้าคัทธจันจักรพรรดิราชทรงครองนครและ ๔ ทวีปกับ ๒ พระมารดา คือ สีไวและสีดาจนหมดอายุขัยเมื่อครบ ๑,๐๐๐ ปี ทุกพระองค์

เรื่องนี้ตอนจบ ระบุว่า พระเจ้าคัทธนะ กลับชาติมาเกิดเป็น สิทธัตถะ-พระพุทธเจ้า พระนางสีดา - พระนางยโสธราพิมพา พระนางสีไว - พระอุบลวรรณาเถรี เจ้าคัทธจัน - พระราหุล เจ้าคัทธเนคร - พระเทวทัต เจ้าเมืองศรีษะเกษ - พระเจ้าสุทโธทนะ หญิงม่าย - พระนางสิริมหามายา พญาไผ่ร้อยกอ - พระสารีบุตร พญาเกวียนร้อยเล่ม - พระโมคคัลลานะ

 

จบบริบูรณ์ครับ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//