logo_new.jpg

To Be Nice as Born to Be Human, 
Read This Book This Songkran, Please
หากหมาย "มีความงดงาม" ให้สมกับที่เกิดมา "เป็นมนุษย์"
กรุณาหาเล่มนี้มาอ่านรับปีใหม่ไทยที่จะถึง

เมื่อขึ้นปีใหม่ฝรั่ง ชาวหอฯ เร่งตีพิมพ์หนังสือเล่มนี้ออกมา
ด้วยการคัดสรร ๕ ธรรมบรรยายของท่านอาจารย์ที่ยังไม่เคยเผยแผ่และตีพิมพ์มาก่อน

แล้วขอให้ ๓ บุคคลพิเศษ ช่วยอ่านและชี้แนะ ประกอบการใช้ประโยชน์
มี

๑) ดร.ก็ วิรไทย สันติประภพ ที่ทุกวันนี้เป็นผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ว่า "ถ้าเราเข้าใจถึงแก่นและความลึกซึ่งของศีลธรรมแล้ว จะเห็นว่าศีลธรรมเป็นเรื่องของผัสสะทางร่างกายและจิตใจ ต้องอาศัยการปฏิบัติสมาธิภาวนาเป็นพื้นฐานสำคัญ การไปรอรับศีล ๕ หรือ ศีล ๘ เฉพาะเวลาทำบุญแล้วถือเป็นข้อปฏิบัติ ไม่มีที่จะทางช่วยให้เรายกระดับมาตรฐานชีวิตได้อย่างแท้จริง" โดยเมื่อสุทธิชัย หยุ่นขอสัมภาษณ์เรื่อง New Normal ท่านผู้ว่า ก็นำเรื่อง "ศีลธรรม" ในเล่มนี้มาเป็นเครื่องชี้นำ New Normal ที่แท้ ๆ

๒) ดร.ณัชร สยามวาลา ผู้แปล Buddha Brain บอกว่า "ท่านพุทธทาสกำลังบอกใบ้ให้เราท่านทั้งหลายลุกขึ้นพร้อมใจ นำศีลธรรมกลับมา เพื่อไม่ให้บ้านเมืองเสียหายเพราะการขาดศีลธรรมไปมากกว่านี้ สังคมจะดีได้ต้องเริ่มจากมิติภายใน คือใจของเราเอง"

๓) "เอ็ดดี้" หรือ พิทยากร ลีลาภัทร์ ก็บอกด้วยว่า "หลายคนเรียกร้องให้ระบุว่า ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งก็ฟังดูดีนะครับ แต่ผมเชื่อว่ามันจะดีไปกว่านี้ ถ้าเราจะทำให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำใจ เราต้องเลิกโทษนักการเมือง เลิกโทษรัฐธรรมนูญ เลิกโทษรัฐบาล เลิกฝากความหวังกับคนที่เข้ามาอยู่ในอำนาจชั่วคราว เลิกก่นด่ากัน แล้วกลับมาพัฒนาชีวิตจิตใจของตนให้มันดี"

ตอนนี้กำลังร้อนและหลายอย่างกำลังทำท่าว่าจะแรง
อีกไม่กี่วีนก็เข้าเทศกาล "ปีใหม่ไทย"

ใครยังไม่ได้อ่าน ขอเชิญชวนไปหามาอ่านนะครับ ติดต่อสอบถามที่ห้องหนังสือและสื่อธรรม หรือ เว็บ ของหอฯ ส่วน e book ไม่แน่ใจว่าจะมีให้อ่านทางไกลหรือยัง ฝากใครที่หอฯ ช่วยบอกต่อด้วยนะครับ

 

 

Whats Up @ Wat Suthivararam, 
Phya Nakhon Residence during Thonburi Period 
ที่นี่คือภูมิสถานของเจ้าพระยานคร (หนู) ผู้คืนเมือง
วัดสุทธิวราราม ที่ถนนเจริญกรุง ซึ่งกำลังจะบันดาลใจ

เมื่อวันที่ไปวัดพิชยญาติการามตามที่ท่านพระมหาสุทิตย์ตามไปนั้น ขากลับผมขอแวะวัดท่านที่กำลังปรับใหญ่ ตามที่ท่านเคยบอกผมเมื่อหลายปีก่อนตอนไปที่สวนโมกข์กรุงเทพว่า "จะปรับวัดให้ได้ไม่แพ้อย่างนี้" แล้วผมแจ้งให้อาศรมศิลป์ตามไปถวายงานท่าน จนเมื่อเกิด คก.วัดบันดาลใจ อาศรมศิลป์จึงบรรจุไว้เป็น ๑ ใน ๙ วัดนำร่อง ซึ่งถึงวันนี้มีความก้าวหน้าอย่างยิ่ง

กรุณาดูเอาเองนะครับ ที่สำคัญท่านบอกว่าวัดนี้คือ "ภูมิสถานของเจ้าพระยานครหนู" ที่เข้ามากรุงธนพร้อมเจ้่าตากหลังเสียกรุง แล้วแต่ละเจ้าไทยก็ตั้งตัวเพื่อกู้ชาติ จนพิสูจน์ทราบว่า "เจ้าตาก" คือจอม ก็ยอมรวมอยู่ด้วยกันจนเป็นไทยเดียวมาถึงทุกวันนี้

ครั้งนั้นแรกรู้ว่าสู้ไม่ได้ เจ้านครหนู ก็ล่าไปพึ่งพิงเมืองสงขลา ครั้นถูกนำมากรุงธน ๒ เจ้าเมือง นคร-สงขลา ก็อยู่ใกล้กันที่ฝั่งธน ก่อนที่จะขอย้ายมาฝรั่งที่เป็นพระนครบริเวณวัดสุทธิเวลานี้ ต่อมาเมื่อเจ้านครคืนเมืองไปเป็นพระเจ้านครฯ ญาติบริวารก็กลับเมืองนครหมด บริเวณภูมิสถานที่ว่างจึงกลายเป็นวัดคลี่คลายมาหลายรอบ โดยได้สกุล "ณ สงขลา" ที่ยังอยู่ช่วยกันบูรณะและรักษาสืบทอดมาถึงทุกวันนี้ รายละเอียดอื่น ค่อยว่ากันนะครับ ขอกลับไปหาหนทางสันติของชายแดนใต้ต่อนะครับ

๕ รูปแรกเป็นภาพนำ
๖ - ๘ พระอุโบสถ อาคารเรียน เมรุ และ กุฏิที่กำลังปรับปรุง
๙ - ๑๑ กุฏิ ณ สงขลา กำลังทำเป็นพิพิธภัณฑ์วัดและท้องถิ่น มีห้องจัดดูหนังหาแก่นธรรมได้ในอนาคต
๑๒ - ๒๑ พระอุโบสถชั้นบน กำลังวาดภาพปริศนาธรรม ด้านหลังเป็นพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ ด้านหน้าสังสารวัฏ์ และ อื่น ๆ กำลังจะตามมา
๒๒ - ๒๖ พระอุโบสถชั้นล่าง ทำภาพลงรักปิดทอง มงคล ๓๒ และ มงคล ๑๐๘
๒๗ - ๓๖ อาคารวิหารอื่น ๆ หน้าบันมีรูปพระธาตุ ครุฑ พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช เจ้าพระยาศรีธรรมธิเบศร์ ฯลฯ
๓๗ - ๓๘ สวนเซ็นของเจ้าอาวาส

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Could you please leave me on my white way
ขอบความกรุณา แนะนำ ช่วยเหลือ ร่วมไม้ร่วมมือ

หลังจากทำ "คุยกับหมอบัญชา" มาถึงทุกวันนี้ เข้าเดือนที่ ๙
เริ่มมี "ของแปลกแปร่ง" โผล่เข้ามามากขึ้น ๆ
นอกจากโฆษราสารพัด จนเข้าขันอุจาดลามก

จนเกินเหตุที่จะต้องไปตามเก็บหรือจัดการ
หากท่านใดเจอะเจอก็กรุณาช่วยด้วย
หากท่านใดจะทำ ก็กรุณาอย่าเข้ามาเถอะครับ

รวมทั้งหากผมไม่แน่ใจ เจอะเจอก็จะเอาออก
รวมทั้งน่าจะเลิกรับ ชื่อแปลก ๆ แยกแยะไม่ออก 
ว่าคือใคร หวังอะไรกันแน่

นะครับ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

SWASTI TAMBRALINGA 
& NaKhonSiThammaRat Metrolopitan
สวัสดี ตามพรลิงค์ และ นครศรีธรรมราชมหานคร

(เป็นบทความเก่าจาก "นครดอนพระ กุมภาพันธุ์ ๒๕๕๘" ที่ไม่ได้โพสต์ในนี้มาก่อน เพื่อไขความเรื่องที่มีการระบุว่าบริเวณภาคใต้ของไทยแทบทั้งนั้นเป็นแดนมาเลย์ พอดีกลับมาค้นเพื่อจะเขียนอีกบทความให้นครดอนพระฉบับรับสงกรานต์ที่เห็นจะต้อง "คุยใหญ" เรื่องปลียอดทองขององค์พระบรมธาตุเสียที)

เมื่อต้นเดือนมกราคม ผมได้ร่วมต้อนรับคณะสถาปนิกและภูมิสถาปนิกจากอาศรมศิลป์ ผู้ออกแบบรัฐสภาหลังใหม่ "สัปปายะสภาสถาน" ที่กำลังก่อสร้างอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา มาที่วัดพระธาตุและวัดศรีทวีเมืองนคร เพื่อพิจารณาการถวายงานการช่วยออกแบบให้เป็นสัปปายะสถานยิ่งขึ้น โดยมีท่านอดีตผู้ว่าวิชม ทองสงค์ อดีตอธิการบดีฉัตรชัย ศุกระกาญจน์ และ อาจารย์บัณฑิต สุทธิมุสิก และคณะศรัทธากลุ่มหนึ่งเข้าร่วม และในวาระดังกล่าว ท่านเจ้าคุณวัดพระธาตุได้ปรารภถึงข้อวิตกเรื่องคราบสนิมบนปล้องไฉนและการประสานเตรียมการเรื่องมรดกโลก โดยเฉพาะเรื่องคราบสนิมซึ่งถึงขณะนั้น ยังไม่มีความชัดเจนว่ากรมศิลปากร ในฐานะผู้รับผิดชอบตามกฎหมายและหน้าที่ รวมทั้งผู้บูรณะมากับมือตลอดมาว่าอย่างไร ผมได้แต่ฝากความเป็นทอด ๆ ไปยังท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมว่าเรื่องนี้ ชาวนครเป็นห่วงอย่างยิ่ง ขอช่วยเร่งรัดและมีความชัดเจนด้วย ก่อนที่จะเกิดอะไรที่ไม่คาดคิดขึ้นได้ เข้าใจว่าถึงขณะนี้ คงมีความชัดเจนและคลายวิตกลงแล้ว ท่านเจ้าคุณบอกว่า ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม หลังมาฆบูชานี้ ทางวัดจะต้องทำอะไรแล้ว ผู้คนพากันไถ่ถามด้วยความห่วงใย...เหมือนไม่ไหวกันแล้ว


แต่ที่จั่วหัวเรื่องว่า "สวัสดี ตามพรลิงค์ และ นครศรีธรรมราชมหานคร" เพื่อต้อนรับปี ๒๕๕๘ นี้ ผมนำมาจากชื่อหนังสือ ๒ เล่ม ที่เพิ่งได้มาจากศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเห็นว่าคนนครและผู้ที่สนใจในเมืองนครควรอ่านอย่างยิ่ง เพิ่งพิมพ์ออกมาเมื่อปี ๒๕๕๕ และ ๒๕๕๗ นี้ เขียนโดยคุณประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์ นักประวัติศาตร์โบราณคดีที่มาบุกเบิกงานโบราณคดีที่เมืองนครจนออกมาเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช รวมทั้งการริเริ่มสารนครศรีธรรมราช เมื่อปี ๒๕๑๓ เขียนหนังสือว่าด้วย "นครศรีธรรมราช" เล่มแรก พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพขุนบวรรัตนารักษ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๕ และการริเริ่มจัดประชุมสัมมนาประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช ในปี พ.ศ.๒๕๒๑

เฉพาะเล่มแรก "สวัสดี ตามพรลิงค์" นั้น นอกจากชี้ให้เห็นถึงภูมิศาสตร์ ลม ฟ้า อากาศ ผู้คนพลเมือง จนก่อกำเนิดเป็นรัฐและแคว้นขึ้นในท้องถิ่นสุวรรณภูมิและคาบสมุทรทะเลใต้แรก ๆ ที่สำคัญบนประวัติศาสตร์โลกยุดแรกเริ่ม ๓ อาณาจักร คือ อาณาจักรตามพรลิงค์บนแหลมมลายู อาณาจักรศรีวิชัยบนเกาะสุมาตรา และอาณาจักรตารุมาบนเกาะชวา เฉพาะตามพรลิงค์บนคาบสมุทรเอเซียอาคเนย์ หนังสือได้ชี้ที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยช่วงจังหวัดนครถึงสงขลา ระยะทางประมาณ ๒๐๐ กิโลเมตร ตั้งแต่สิชลถึงหัวเขาแดงซึ่งเป็นสันทรายขนาดใหญ่เกิดจากการพักพาตะกอนทรายมาทับถมเป็นพันปี ประกอบกับเกิดการถดถอยของน้ำทะเลอ่าวไทยจนปิดกั้นที่ราบลุ่มตอนในจนค่อย ๆ กลายเป็นลากูน (lagoon) ทะเลสาบ ร่องน้ำ พรุ ควน และท้องนาต่าง ๆ ตลอดระยะเมื่อ ๖,๐๐๐ ปีที่ทะเลเคยเว้าลึกเข้าไปกว่าที่เป็นในทุกวันนี้ และได้ลำดับยุคสมัยของ "ตามพรลิงค์" ก่อนที่จะมาเป็น "นครศรีธรรมราช มหานคร" ไว้ ๔ ยุค ดังนี้
ยุคแรก "ยุคตั้งฟ้าดิน" เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๗-๑๐ มีคนพูดภาษาออสโตรนีเซียนและออสโตรเอเซียติก (ชาวเล เงาะป่า ซาไก มอญและมลายู) ใช้เครื่องมือหินขัด เหล็ก และเครื่องปั้นดินเผา มีการใช้เรือชายฝั่ง ตั้งเป็นชุมชนเกษตรกรรมขนาดเล็กตามที่ราบเชิงเขาเทือกเขานครศรีธรรมราช กระจายตัวตลอดแนวเขตท่าศาลา เมือง ลานสกา ร่อนพิบูลย์
ยุคสอง ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๔ ที่น้ำทะเลถดถอยลงไปมาก เกิดสันทรายชายทะเลและแผ่นดินที่ราบกว้างขวาง มีชาวอินเดียเข้ามาตั้งถิ่นฐานตามสันดอนทรายเพื่อความสะดวกในการเดินทางติดต่อค้าขาย มีบทบาททางศาสนา วัฒนธรรมและการเมือง ร่วมสมัยทวารวดี ร่องรอยสำคัญอยู่ที่บ้านท่าเรือที่สมัยนั้นยังเป็นลากูนขนาดใหญ่ต่อเนื่องถึงลานสกา ทุกวันนี้เป็นบริเวณที่ตั้งวิทยาลัยนาฏศิลป์นครศรีธรรมราช สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย พบหลักฐานโบราณวัตถุทั้งจากฝ่ายอินเดียและจีนเป็นจำนวนมาก
ยุคสาม "ยุคเมืองพระเวียง" ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๗ ร่วมสมัยอารยธรรมละโว้-ลพบุรีและศรีวิชัย นับถทอพุทธศาสนามหายาน (และวัชรยาน-บัญชา) อยู่บนสันทรายเดิมเหนือจากเมืองเดิมที่ท่าเรือประมาณ ๒ กิโลเมตร มีคูน้ำคันดินเพื่อป้องกันเมือง คือคลองคูพายที่ขุดตัดสันทรายด้านใต้กับคลอสวนหลวงที่ขุดตัดสันทรายด้านเหนือไปบรรจบคลองท่าเรือก่อนออกทะเล ทุกวันนี้คือที่ตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ วัดสวนหลวง ที่พักตำรวจและบ้านศรีธรรมราช มีที่นาสำคัญของเมืองคือ ดอนนาแรก และ ทุ่งนาหลวง
ยุคสี่ "นครศรีธรรมราช มหานคร" ตั้งแต่ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๘ หลังจากเกิดศึกสงครามและโรคระบาดจนเมืองที่พระเวียงทรุดโทรม ประจวบกับพระเจ้านรปติสิทธุแห่งพม่ามอญแผ่ขยายอำนาจลงมาตั้งเมืองใหม่ในปี พ.ศ.๑๗๑๙ บนสันทรายเดิมที่เป็นดอนสูง เหนือขึ้นมาเล็กน้อย เรียกว่า "กระหม่อมโคก" หรือ "หาดทรายแก้ว" พร้อมกับรับพระพุทธศาสนาลังกาวงศ์สถาปนามหาสถูปเป็นหลักเมือง เรียกอีกชื่อว่า "นครดอนพระ" ขุดคลองป่าเหล้าเป็นคูเมืองด้านใต้ เพิ่งขุดคลองหน้าเมืองเป็นคูเมืองด้านเหนือในสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยเมืองนี้ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบันซึ่งกำลังขยายใหญ่หลังจากเกาะอยู่บนสันทรายไล่ทางตอนเหนือมาหลายร้อยปี แล้วเริ่มขยายออกทั้งสองข้าง รวมทั้งวกกลับลงไปทางใต้ด้วย

ผมขอสรุปเสนอไว้เพียงเท่านี้พร้อมกับขอแนะนำให้รีบหามาอ่าน เพราะให้รายละเอียดสนุกสนานมาก โดยเฉพาะที่ระบุว่าแต่ละยุคนั้นพบอะไรที่ไหนบ้าง เพราะคุณประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์ คือผู้รวบรวมมาไว้ในพิพิธภัณฑ์คนสำคัญ รวมทั้งเกิดอะไรขึ้นบ้างในแต่ละยุค โดยเฉพาะความสัมพันธ์กับ อินเดีย-ลังกา-พม่า-มอญ กับขอม-เขมร-จาม และ กับชวา-ศรีวิชัย หาหนังสือตามร้านไม่ได้ โทรฯ ที่ดวงกมลบุ๊คส์ ๐๒ ๙๔๒ ๙๒๗๐-๒

ที่สำคัญคือ เป็นการอธิบายที่มาของชื่อคอลัมน์ "นครดอนพระ" นี้ด้วย.

 


๒๐ มกราคม ๒๕๕๘

 

 

 

รายงานสุดท้ายจากทวาย ฉบับที่ ๘
ที่ต้องมีต่ออีกสักสองตอน
แต่รออีกนิดนะครับ

เมื่อวานนี้ พม่ามีประธานาธิบดีคนใหม่ถอดด้ามแล้ว
เชื่อว่าน่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ทวายในไม่ช้า

ที่แนบนี้เป็นภาพเช้าวันสุดท้ายในการไปรอบที่ ๒ กับ ๓ อ.ฝรั่ง

เรือนแบบอาณานิคมสีสวยหลังนี้ เปิดเป็นเกสต์เฮ้าส์ของชาวพม่าเท่านั้น ตามตรอกซอกซอย มี "วัดแขก" "มัสยิดมุสลิม" อยู่รายรอบ "ตลาดอังกฤษสร้าง" ที่กำลังเปลี่ยนแปลง ดูได้จากเตาอั้งโล่ หม้อถัง กับป้ายโฆษณาขายของ

ถัดมาคือที่หน้าศาลาว่าการเมือง กับ รร.ที่พาคณะไปพักรอบที่ ๓ มีทั้งอาคารใหม่แบบกล่องกับเก่าแบบอาณานิคม

คราวที่ ๒ พาบินข้ามทะเลหน้าเมืองมะริด-ตะนาวศรีไปเกาะสอง
คราวที่ ๓ นั่งรถกลับด่านบ้านพุน้ำร้อน โดยก่อนจากทวาย ได้แวะคารวะ อนุสาวรีย์นายพลอูอองซาน ผู้นำแห่ง BIA (ฺีBurma Independence Army) วีรบุรุษแห่งพม่า พ่อของซูจี ที่ประกาศว่าจะอยู่เบื้องหลังคอยสั่งการท่านประธานาธิบดีด้วยตนเอง

 

ในขณะที่พวกเราก็กลับมาสู่รัง BIA (ฺีBuddhadasa Indhapanno Archives) ของเรา ตามเดิม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//