เพื่อแผ่นดินเกิด
- Details
- Written by Super User
- Category: เพื่อแผ่นดินเกิด
- Published: 01 June 2017
- Hits: 1547
หลักฐาน"โดหก"เก่าสุดเท่าที่หาพบ...วันนี้
The Oldest Evidence, on DoeHoke
(bunchar.com เพื่อแผ่นดินเกิด 20170530_7)
เท่าที่พอหาหลักฐานลายลักษณ์เกี่ยวกับบริเวณหน้าเมืองที่เก่าที่สุดในมือตอนนี้ คือ นิราศนครศรีธรรมราช ของ นายแก้ว กรมพระคลังสวน กับ นิราศปักษ์ใต้ ของ กรมหมื่นอมรมนตรีทรง เมื่อครั้งตามเสด็จ ร.๔ มาเมืองนครในปี ๒๔๐๒ ซึ่งมิได้กล่าวอะไรไว้เลยถึงทั้ง "ศาลาหน้าเมือง" และ "ดงประดู่ที่หน้าเมือง"
แต่หากอ่านเนื้อในของนิราศนครศรีธรรมราชดี ๆ ที่ผมหมายเหตุด้วยเลข ๑๐ ที่ว่าเป็นค่ายหลวงนั้น น่าจะอยู่ตรงบริเวณหน้าเมืองนี้ โดยต่อจากนั้น ทรงประทับรอราหูอยู่หนึ่งคืน ก่อนที่จะเสด็จสู่พระธาตุ ซึ่งบ่งชัดว่าเป็นการเสด็จเข้าไปในประตูเมือง
ทั้งนี้ หากอ่านในนิราศปักษ์ใต้ที่ยกมาเพียงหน้าเดียวที่ท้ายสุดนั้น ชัดเลยว่า
"...ที่ทำเนียบประเทียบทับ
ทำสำหรับเรียงงามทั้งสามประสงค์
หมู่ข้างซ้ายถวายราชวรวงศ์
หมู่กลางจงใจสนองให้น้องยา
เรียงลำดับนับเนื่องล้วนเครื่องผูก
ตำแหน่งลูกเธออยู่นั้นหมู่ขวา
ริมถิ่นแถวแนวขนัดรัถยา
สถิตหน้าค่ายหลวงกระทรวงวัง
ลดเสลี่ยงเคีงเข้าเนาสำนัก
ได้หยุดพักผันผ่อนอาวรณ์หวัง
จัดแจงของกองไว้กลาดดาษประดัง
ค่อยเสื่อสังเวชกายคลายอาวรณ์..."
แต่ที่น่าสนใจที่สุดคือการที่กรมศิลปากรนำ ๒ ภาพนี้มาประกอบไว้ ภาพหนึ่ง ระบุว่าเป็นภาพการเฝ้ารอรับเสด็จ ร.๕ ที่หน้าซุ้มประตูเมือง เมื่อง พ.ศ.๒๔๔๘ อีกภาพเป็ฯภาพพลับพลาที่ประทับ ร.๖ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๘ ซึ่งอยู่ที่บริเวณเดียวกันนี้นั้นเอง
อันนี้สอดคล้องกับที่เจ้าคุณม่วงวัดท่าโพธิ์ให้ขุนชำนาญคดี แต่งกลอนเพลงบอกให้กองลูกเสือนำไปขับร้องตอนชุมนุมเสือป่าที่ กทม. ว่าที่หน้าเมืองนครนี้มีศาลาหน้าเมืองอยู่เป็น "...ที่สำนักประชาชน ผู้เดินหนได้หยุดอยู่ ทุกฤดูกาล..." อย่างนี้ ...
"มีนครามหาสถาน นามขนานนครฯ สถิต
ประจิมทิศและบูรพา มีทุ่งนาเรียง
มีสนามหญ้าอยู่หน้าเมือง เจริญเรืองครั้งโบราณ
ป้อมปราการถะเกิงยศ ยังปรากฏเสียง
เป็นเมือเอก ณ ปักษ์ใต้ พลไพร่ก็พร้อมเพรียง
ทุ่งขเรียงแนววิถี เมทนีดล
มีศาลาหน้านครินทร์ พื้นเป็นดินก่อด้วยอิฐ
หลังคาปิดบังร้อน ทั้งได้ซ่อนฝน
ศาลานี้มีเป็นหลัก ที่สำนักประชาชน
ผู้เดินหนได้หยุดอยู่ ทุกฤดูกาล"
และอาจจะด้วยเหตุนี้
เมื่อเจ้าแผ่นดินเสด็จถึง
จึงหยุดประทับอยู่ที่หน้าประตูเมืองแถบเดียวกันนี้
กระมัง ?
๓๐ พค.๖๐