เพื่อแผ่นดินเกิด
- Details
- Written by Super User
- Category: เพื่อแผ่นดินเกิด
- Published: 01 June 2017
- Hits: 1389
เป็นประเด็น กับ ๔ กรมพระยา
These Became the Century Long Issue
(bunchar.com เพื่อแผ่นดินเกิด 20170530_8)
ในพระนิพนธ์รายงานของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ กรมพระปวเรศฯ เมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๐๗ นั้น ไม่มีการระบุอะไรถึง ด้วยพระองค์คงตรงเข้าประทับในวัด
ครั้งสมเด็จกรมพระยาภาณุพันธุ์ฯ เสด็จในปี พ.ศ.๒๔๒๗ ทรงรายงาน ร.๕ ว่า
"...ระยะทางตั้งแต่ท่าวังมาประมาณ ๓๐ เส้น ถึงที่ปลูกพลับพลาหน้าเมือง ทิศเหนือข้างฟากถนนฝั่งตะวันตกเปนลานเนินกว้างเปนเนินดิน มีพลับพลาหักพังทิ้งเก่าอยู่ ที่มุมค่ายทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีโคกดินสูงขึ้นไป ประมาณ ๗ - ๘ วา มีวิหารสูงบนโคกหลังหนึ่งเปนวัดเก่า ข้างหลังค่ายไปข้างตวันตกประมาณ ๕ - ๖ เส้น มีหมู่บ้านแลสวนมะพร้าวมาก ในหมู่นั้นมีโรงเรือนที่พัก กรมการรับราชการเวลาเสด็จหลายหลัง แลถึงคลอง..."
ในขณะที่รายงานการเสด็จของกรมพระยาดำรงฯ
เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๐ มีแต่รายงานตรวจราชการ ผมไม่เห็นเรื่องเกี่ยวกับศาลาประดู่หกและอาณาบริเวณนี้
ที่เป็นประเด็นก็คือ ของสมเด็จกรมพระยานริศฯ ซึ่งเสด็จในปี พ.ศ.๒๔๔๗ ที่ว่า
"...กลับจากวัดขึ้นรถกับเทศา มาที่พักปลูกไว้นอกเมือง ใกล้กำแพงข้างเหนือที่ศาลาโกหก..."
ในหนังสือที่ผมได้มาไม่มีรูป
แต่คุณโกมล มั่งศรี ที่ตามภาพถ่ายเก่าเพิ่งส่งมา
บอกว่าเป็นภาพครั้งสมเด็จฯ กรมพระยานริศฯ
มีบรรยายไว้ด้วยว่า "ศาลาโกหก ที่นครศรีธรรมราช"
นี้กระมังที่เป็นประเด็นร้อน
จนท่านเจ้าคุณม่วงแห่งวัดท่าโพธิ์ต้องแก้ทาง
ดังที่ยกมาเมื่อตอนที่แล้ว และอธิบายต่อไว้อย่างนี้
มีประดู่หกต้น ซึ่งสูงพ้นแต่หลังคา
รอบศาลากิ่งโตใหญ่ แผ่อยู่ไพศาล
อยู่ในถิ่นประจินถนน เป็นที่ชนได้สำราญ
แต่ก่อนกาลดึกดำบรรพ์ เป็นสำคัญกล่าว
ชาวบ้านนอกออกสำเหนียก นิยมเรียกคำสั้นสั้น
ชอบแกล้งกลั่นพูดห้วนห้วน ตัดสำนวนยาว
เรียกว่าศาลาโดหก โดยหยิบยกวัตถุกล่าว
เรียกกันฉาวทั่วทั้งบ้าน มีพยานโข
นิยมวัตถุประจักษ์เห็น ตามกาลเป็นสมัยก่อน
ใช่เติมทอนหันเห ไปทางเฉโก
กระบิลเมืองเรียกกันอยู่ คือเรียกประดู่ว่าโด
ไม่ใช่พึ่งโผล่ไม่ใช่พึ่งนึก เรียกมาดึกดำ ฯ
พร้อมกับว่ากันว่า กรมพระยาดำรงฯ
ทรงให้ทำป้ายชื่อ "สัจจศาลา" มาติดแทน
อันนี้ พี่ประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์
เขียนในหนังสืองานคุณตาขุนบวรฯ สนุกมากครับ.
๓๐ พค.๖๐