- Details
- Written by Super User
- Category: คุยกับหมอบัญชา
- Hits: 1413
ชีวิตดี๊ดี มาฆบูชานี้
Good Life this MaKhaPuja
(bunchar.com เพื่อแผ่นดินเกิด 20170210_1)
เมื่อเช้านี้ ผมถูกตามไปออกรายการชีวิตดี๊ดีของช่อง ๙ ที่เริ่มรู้จักกันเมื่อตอนปีใหม่ มีนายเอกกับคุณโน๊ตเป็นพิธีกร ใน ๓ เรื่อง คือ มาฆะบูชา เราจะเอามาใช้ในชีวิต และ กิจกรรมที่สวนโมกข์กรุงเทพ
ผมก็ตอบตามประสาว่า มาฆะนี้สำคัญเพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงมอบข้อธรรมที่ชาวพุทธถือว่าเป็นหลักในระดับอุดมการณ์ของชาวพุทธที่พึงถือปฏิบัติ ง่าย ๓ หลักและ ๖ ย่อย ได้แก่ ๓ ละชั่ว-ทำดี-ปรับปรุงจิตใจ แล้วก็ ๖ อดกลั้น-ไม่เบียดเบียน-ไม่พูดร้ายทำร้าย-สำรวม-รู้ประมาณ-หมั่นในการพัฒนาจิต อันเป็นการปักหมุดสถาปนาการพระพุทธศาสนาอย่างครบองค์ ๓ อย่างมั่นคงจนมาถึงเราทุกวันนี้
ส่วนจะนำมาใช้อย่างไรในโลกที่ยุ่งและยากมาก ๆ ขึ้น โดยผมนึกถึงตอนสึกที่ท่านอาจารย์พุทธทาสย้ำกับผมด้วย "ธรรมะ ๔ เกลอ" ให้เอาไปอยู่กับเนื้อกับตัว คือ สติ-สัมปชัญญะ-ปัญญา-สมาธิ คือเจริญสติให้ระลึก(สติ)ได้ทุกเมื่อทุกขณะว่าอะไร ๆ อย่างรู้ตัว(สัมปชัญญะ) ไม่หลง-ลืม-ไหล-เลอะ ฯลฯ แล้วดึงเอา-ปัญญา-มาใช้ให่ถูกเรื่องและทันท่วงทีด้วยจิตที่ตั้งมั่น(สมาธิ)ไม่วอกแวกหวั่นไหว ดังเช่น ณ ขณะที่ขับรถที่ทุกวันนี้ดูท่าทางว่าจะเกิดเหตุเช่นนี้กันมาก ๆ ขึ้น รวมทั้งเรื่องของลุงวิศะฯ กับหลาน ๆ ม.๔ ที่อ่างศิลา ที่กำลังเป็นกรณีกันอยู่
ทั้งนี้การที่ "เกลอทั้ง ๔" จะมาอยู่กับเนื้อกับตัว จนมีสมรรถนะและสามารถเอามาใช้และช่วยชีวิตได้นั้น ต้องหมั่นฝึกฝนเสมอ ๆ เริ่มที่การเจริญสติและอื่น ๆ ซึ่งมาฆบูชาพรุ่งนี้ ขอเชิญทุกท่านไปที่วัดไหน ๆ ก็ได้ทั้งนั้น หรือจะแวะไปที่สวนโมกข์กรุงเทพก็ได้ครับ มีกิจกรรมยาว ๒๔ ชม.ตั้งแต่ ๘ โมงเช้าวันที่ ๑๑ ถึงเช้าวันอาทิตย์ที่ ๑๒ แบ่งได้เป็น ๑๐ กิจกรรม ให้เลือกได้ตามถนัดนะครับ ผมย่อ ๆ อย่างนี้
๘๐๐ บูชาพระ สมาทานศีลแล้วฟังธรรม-ร่วมภาวนา
๑๐๐๐ เวียนเทียนมาฆบูชารอบเช้า
๑๐๓๐ ตักบาตรสาธิต สวดมนต์ทำวัตร กินข้าก้นบาตร
๑๓๓๐ กิจกรรมศิลป์ศีลภาวนา สารพัดวิธี
๑๓๓๐ สวนโมกข์เสวนาว่าด้วยมาฆบูชาเทศนาในหนังสือธรรมโฆษณ์ของพุทธทาส
๑๔๐๐ มาตาภาวนาต่อเนื่องถึงเช้า
๑๖๓๐ เวียนเทียนมาฆบูชารอบบ่าย
๑๗๓๐ ทำวัตรเย็น สวดมนต์ภาวนาแล้วเวียนเทียนมาฆบูชารอบค่ำ
๑๘๓๐ เพ็ญภาวนาชาคริยานุโยคต่อเนื่องถึงเช้า
โดยยังมีอบรมเจริญสติแบบเคลื่อนไหวอีกรายการ ตั้งแต่ ๐๘๐๐ - ๑๖๐๐ น.ด้วยครับ
ขอเชิญตามอัธยาศัยนะครับ
๑๐ กพ.๖๐
- Details
- Written by Super User
- Category: คุยกับหมอบัญชา
- Hits: 1548
ภูมิ-รัฐแห่งชมพูทวีปทางฝั่งตะวันตก
Western Geo-State of India Subcontinent
(bunchar.com เพื่อแผ่นดินเกิด 20170201_1)
เมื่อวานทั้งวันใช้เวลาเดินทางบนรถ ๕ ชั่วโมง
อยู่ที่หมู่ถ้ำอชันตาในโค้งเกือกม้าแม่น้ำถิ่นเสืออีก ๕ พอ ๆ กัน
ระหว่างทางจึงมีเวลาคุยกันจนหลับพับไปคนละหลายรอบ ที่ขอจำมาเล่าก็เรื่องของภูมิ-รัฐในภาพรวมที่เขาช่างสาธิตแสดงท่าได้ดีมาก ๆ ว่าหากยืนยกศอกขวาและกางแขนซ้าย หัวเขาคือตอนบนของชมพูทวีป มีคางคือนครนิวเดลี อกทั้งแผงคือตอนเหนือทั้งหมดรวมอุตรประเทศ มัธยมประเทศไปจนถึงพิหาร และเบงกอลตะวันตก โดยแขนซ้ายนั้นหมายถึง ๗ รัฐน้อย ๆ ที่เขาเรียกว่า 7 Sisters ส่วนข้างขวาก็คือคุชราช ราชาสถาน ยาวลงมาถึงมหารัฐอันเป็นที่ตั้งของมุมไบและนานาถ้ำที่กำลังจะไปกัน ทั้งลำตัวลงไปคือภาคใต้ที่ "กว้างใหญ่ไพศาลและสมบูรณ์" ตามที่ถามเขาจนได้ความว่าคือความหมายของชมพูทวีปในภาษาสันสกฤต
บริเวณชายฝั่งตะวันตกนี้ที่เป็นแนวเทือกเขา Ghat ตะวันตก กับที่ราบสูงเดคข่านที่เกิดจากการปะทุของภูเขาไฟโบราณเอามวลหินภูเขาไฟมหาศาลมากองไว้เป็นหินบะซอลท์ที่เหมาะต่อการแกะถ้ำหนาเป็นกิโล ๆ แถมยังมีร่องหินแปรและอื่น ๆ ที่มารวมกันอยู่เป็น Deccan Trap จนเป็นแหล้วหินแร่และรัตนชาติต่าง ๆ อีกมากมาย รวมทั้งนานาหินสีมีค่ากึ่งรัตนชาติที่ใช้ทำลูกปัดทั้งหลายด้วย นอกจากนั้นยังเป็นต้นน้ำสำคัญของอินเดียที่ไหลยาวจากชายฝั่งตะวันตกไปลงริมทะเลตะวันออกที่อ่าวเบงกอล ตั้งแต่นัมนที โคทาวารี และ กฤษณา รวมทั้งตาปีที่ไหลลงทะเลอาระเบียในฝั่งตะวันตก เว้นยมุนา คงคา และ พรหมบุตร ที่ไหลมาจากหิมาลัยไปลงตรงก้นอ่าวเบงกอล
นอกจากจะมีถ้ำและทรัพยากรมากมายแล้ว น้ำของอินเดียจำนวนมากก็ได้ไปจากป่าเขาและที่ราบสูงนี้ ทุกวันนี้นอกจากมีไร่ข้าวโพด ข้าวสาลี อ้อย ฝ้ายกำลังงามแล้ว โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ก็กำลังขยายตัวอยู่ รวมทั้งโรงอ้อย โรงเบียร์ โรงงานรถยนต์ ฯลฯ
วานนี้นั่งรถจาก Vivanta Taj ผ่านชุมชนบ้านช่อง ที่ราบสูงเรือกสวนไร่นาจนถึง กินเที่ยงตอน ๑๑.๐๐ น.แล้วออกเดินไล่จนครบพอดี ๑๖.๐๐ น. ที่ทางขึ้นเจอพวงแสที่คุณหญิงผู้การพระยาภะรตราชาปลูกใส่ในสวนโรมันที่วชิราวุธ ก็ชวนนึกถึง "ภะรตราชา" ได้ด้วย
ขากลับ ถามนายมัคคุเทศก์ว่าคุณศาสนาไหน และ อยู่ชนชั้นไหน แกตอบร้ายมากว่า A Human Being ถึงที่พัก ทัช วิวันตา แล้วกินบาร์บีคิวกลางสนาม ดูเดือนเสี้ยวเหนือโดมน้อยเหนือห้องพักพอดี อิสลามช่างเลือกหาสัญญลักษณ์สากลเหลือเกิน.
๑ กพ.๖๐
- Details
- Written by Super User
- Category: คุยกับหมอบัญชา
- Hits: 1555
หนึ่งเดียวที่เอเลแฟนต่า
Just One of Elephanta
(bunchar.com เพื่อแผ่นดินเกิด 20170129 _2)
หากให้เลือกภาพเดียวที่ถ้านี้ สำหรับวันนี้
ผมขอเลือกภาพจำหลักหินขนาดใหญ่เป็นทวารบาน
ที่หอศิวลึงค์ในถ้ำหมายเลข ๑ นี้เพราะแสงกำลังงามมาก ไม่แพ้หินสลักที่งามนุ่มมากอย่างที่ห็น
เป็นรูปแกะสลักทวารบาลที่สองข้างทางเข้าหอศิวลึงกค์ครับ
๒๙ มค.๖๐
- Details
- Written by Super User
- Category: คุยกับหมอบัญชา
- Hits: 1598
ปากประตูสู่อินเดีย...ที่มุมไบ
Gateway to India @ Mumbai
(bunchar.com เพื่อแผ่นดินเกิด 20170130_1)
อันที่จริงแล้วช่องทางเข้าสู่อินเดียนั้นมีมากมาย แต่ที่มุมไบนี้ อังกฤษได้มาสร้างซุ้มประตูใหญ่ไว้อันหนึ่งเพื่อรับเสด็จพระเจ้าจอร์จที่ ๕ กับราชินีแมรี่ ที่เสด็จมาเมื่อปี ๑๙๑๑ โดยซุ้มประตูนี้ตอนนั้นก็สร้างเสร็จไม่ทัน จึงทำเป็นม็อคอัพรับเสด็จ แล้วสร้างเสร็จจริงอีก ๑๓ ปีต่อมาในปี ๑๙๒๔ แล้วอีก ๒๓ ปีต่อมา อินเดียก็ได้รับเอกราชออกจากอาณานิคมของอังกฤษ
บริเวณนี้เขาว่าเดิมเป็นเขตป่าบึงชุ่มน้ำริมทะเลที่มีเกาะน้อย ๆ อยู่ ๗ เกาะ กับชุมชนชาวประมงเล็ก ๆ ชื่อมุมบาเทวี ทำนองว่าเป็นชื่อเจ้าที่ของชาวประมง แล้วโปรตุเกสเข้ามาครองเมื่อปี ๑๕๓๔ โน่น แล้วเรียกว่า บอมบาเฮีย แปลว่า "อ่าวดี" ก่อนที่จะมอบเป็นของขวัญการแต่งงานคราวแคทเธอรีนแห่งบรากันซ่าอภิเษกกับพระเจ้าชาร์ลส์ที่ ๒ ในปี ๑๖๖๑ แล้วขายต่อให้กับบริษัทอินเดียตะวันออกที่เห็นประโยชน์พัฒนาจนกลายเป็นเมืองท่าสำคัญของทะเลอาระเบียในชื่อว่า บอมเบย์ จนกลายเป็นศูนย์กลางเมืองท่าสำคัญในคริสตวรรษที่ ๑๘ จากนั้นจึงมีการถมทะเลเชื่อมต่อเกาะทั้ง ๗ จนกลายเป็นแหลมยาวของบอมเบย์ที่ทุกวันนี้มีประชากรรวมกัน ๒๕ ล้านคน แล้วอินเดียก็เปลี่ยนชื่อกลับมาเป็นมุมไบในทุกวันนี้
ภาพชุดนี้เป็นการสลับจากที่พวกเราออกจากท่าตอนเช้าแล้วกลับมาตอนเที่ยง เพื่อให้เห็นภาพการเข้ามาถึงตามลำดับแล้วจึงค่อยกลับออกไปโดยมีนกนางนวลมาบินตามไปกับพวกเราด้วยตลอดทางจนถึงเกาะเอเลแฟนท่า สวยดีครับ.
๓๐ มค.๖๐
- Details
- Written by Super User
- Category: คุยกับหมอบัญชา
- Hits: 1414
นี้ที่การจดหมายเหตุบ้านเรา...ไม่ง่าย
This is Why Thai Archival Work is Weak
(bunchar.com บัญชาชีวิต 20170122_4)
แม่ครับ ขนาดมีวิชาแม่ แถมน้าพาอยู่ทั้งคน
น้ำท่วมรอบนี้ บ้านเราก็เสียหลักฐานจดหมายเหตุไปอีกกอง
วันนี้ที่เต้ยเพิ่งได้กลับบ้านเพราะติดหลายงานมาก
เพิ่งได้ตรวจห้องเก็บของที่น้ำเข้าไปครึ่งแข้ง เจอหลายกล่องกระดาษใส่หนังสือที่วางบนพื้น จึงถูกน้ำชำระและแช่มาจะ ๑๗ วันกำลังได้ที่ ของแม่ก็มีสมุดบันทึกที่รุ่งจดการดูแลแม่ แล้วหนังสือที่แม่เก็บ รวมทั้งอนุสรณ์ ตมธก.๕ ด้วยครับ แต่ของน้าพานั้น ตอนนี้เอามาผึ่งไว้ก่อน เพราะเป็นสมุดเรียนที่จุฬาฯ น้าพาเพิ่งให้เอาลงไปไว้ในห้องนี้ เสียดายมาก พรุ่งนี้จะหาทางพิทักษ์ไว้ให้ได้มากที่สุด นอกนั้นหนังสือสารพัดั้งของแม่ น้าพาและเต้ย เช่น สารนครฯ หลายสิบเล่มเลยครับ แล้วยังหนังสือที่เราพิม์แจกตอนงานคุณยายผ่องและคุณป้าพวงรัตน์ด้วย
ส่วนห้องคลังโบราณคดีนั้น ลังกระดาษยุบหมด ค่อยเปลี่ยนใหม่หลังแล้งฝนและมีแดด ส่วนที่อยู่ในกล่องปลาสติก มีน้ำแช่จนกระดาษทะเบียนเริ่มยุ่ย ต้องดำเนินการใหม่อีกรอบครับ
ส่วนที่บริษัท น้าพาบอกว่าน้ำเข้าห้องทำงานแม่-น้าพา และห้องคลัง เอกสารเปียกไปหลายส่วน เต้ยขอว่าอย่าเพิ่งทิ้ง น้าพาก็ตากผึ่งมาหลายวันแล้วครับ
อย่างนี้นี่เองครับ
ที่การจดหมายเหตุบ้านเรา...ไม่ง่าย
พ้นพี่ปลวกก็มาเจอน้องน้ำ.
๒๒ มค.๖๐