- Details
- Written by Super User
- Category: คุยกับหมอบัญชา
- Hits: 1374
๓ ถ้ำดึกดำบรรพ์ไม่ธรรมดาที่กระบี่
กับพระรูปหนึ่งซึ่งไม่ธรรมดาเหมือนกัน (ต่อ - continued)
ที่ถ้ำหลังโรงเรียน นั้นมีพบเครื่องมือหินเก่า แต่ที่ถ้ำหมอเขียวนี้มีพบลูกปัดเปลือกหอย ส่วนที่ถ้ำเสือว่ากันว่าพบพระพิมพ์จำนวนหนึ่ง แต่ถูกเปลี่ยนสภาพแทบหมดสิ้นดังที่เห็นในภาพชุดแรกนั้นคือถ้ำหลักที่สร้างเป็นศาลาวิหารโอฬาร มีพระมหาเจดีย์ ในโถงถ้ำมีลานใหญ่ให้คนถวายสังฆทาน พร้อมหอพระธาตุ และถ้ำเสื้อ ลึกเข้ามามีบันไดขึ้นชมวิวบนยอดเขา มีหอเจ้าแม่กวนอิมรอรับคนจีนมาบูชา กุฏิเจ้าอาวาสก็ใหญ่อย่างที่เห็น
ที่ผมเห็นว่าไม่ธรรมดาที่สุดและเข้าไปรอบนี้ คือ ไปขอดู "ลูกปัด" และ "พระ" ที่พระรูปหนึ่งเก็บหามาเรื่อย ท่านรูปนี้แรกสุดไปขอบวชที่สวนโมกข์เมื่อราว ๒๐ ปีก่อน ซึ่งไม่รับบวชเช่นเดียวกับผม จนต้องไปบวชที่ศานติไมตรี ต่อมาย้ายมาอยู่ที่ถ้ำเสือถึงทุกวันนี้ สนใจประวัติศาสตร์และพระศาสนา หาเก็บลูกปัดและพระพิมพ์ไว้ไม่น้อย บอกว่าเก่าบ้างใหม่บ้าง ปน ๆ กันมาบ้าง เช่นเส้นหินเขียวมีของเก่าจริงเพียง ๒ เม็ด นอกนั้นมาจากโรงงาน OTOP ของผู้ใหญ่บ้านทั้งนั้น
ที่ผมสนใจอยู่ทีพระพิมพ์ ที่ท่านบอกว่ากำลังหาพิพิธภัณฑ์เพื่อส่งมอบ แต่กลัวว่าจะถูกเอาไปแปรธาตุหายสูญหรือปลอมปน จนยังไม่กล้ามอบมาถึงวันนี้
เฉพาะพระพิมพ์
๗ ภาพแรกเป็นพระพิมพ์ดินดิบ บอกว่าได้มาจากพรุพี ที่นาสาร
๒ ภาพต่อมา บอกว่าเป็นของถ้ำเสือ บางองค์เอาดินมากดพิมพ์แกะใหม่
๒ ภาพต่อมา จาก ที่วัง และ กำแพงถม เมืองนคร
๑ ภาพต่อมาบอกว่าจากควนสราญรมย์
๑ ภาพถัดมา ของเขาศรีวิชัย
๒ ภาพต่อมา บอกว่าได้มาจากไทรบุรี
จากนั้น เป็นพระพิมพ์มีคาถาเยธัมมา ของจากภาคกลาง แล้วก็สถูปดินในภาคใต้ ๓ ภาพสุดท้ายจำไม่ได้ว่าจากที่ไหน น่าจะภาคกลาง
นี้ที่ผมถือว่าเป็นอีก Amazing นอกจากทั้ง ๓ ถ้ำ
ทั้งที่มีพระรูปหนึ่งท่านตั้งใจทำอย่างนี้
แล้วที่ยังไม่กล้าจะมอบให้พิพิธภัณฑ์ไหน ก็ Amazing เหมือนกัน
.
- Details
- Written by Super User
- Category: คุยกับหมอบัญชา
- Hits: 1394
๓ ถ้ำดึกดำบรรพ์ไม่ธรรมดาที่กระบี่
กับพระรูปหนึ่งซึ่งไม่ธรรมดาเหมือนกัน
ในรายการเที่ยวกระบี่บก นอกจาก คลองท่อม สระมรกต น้ำตกร้อน บ่อน้ำร้อนเค็ม แล้วก็มี วัดถ้ำเสืออีกแห่ง รอบนี้ผมพบมีเวลาได้แวะไปอีกรอบ รวมทั้งเลยไปอีก ๒ ถ้ำสำคัญเสียด้วย เพราะล้วนแต่ไม่ธรรมดา
ขอเริ่มที่ "ถ้ำหลังโรงเรียน" อยู่ห่างจากตัวเมืองเพียงไม่กี่กิโล บนเส้นทางไปน้ำตกห้วยโต้ เป็นถ้ำที่มีการสำรวจศึกษาและขุดค้นเมื่อ ๒-๓๐ ปีมานี้ จนได้ข้อสรุปว่า มีบรรพบุรุษของมนุษย์ ตั้งแต่แรก Hominid - Homo Sapiens มาอยู่ และอาจจะเป็นช่งแรกที่เริ่มมีการอพยพผ่านลงไปทางใต้ ก่อนที่ระดับน้ำทะเลจะท่วมจนกลายเป็นเกาะแก่งของอินโดนีเซีย เมื่อประมาณ ๓๗,๐๐๐ - ๔๕,๐๐๐ ปีก่อนโน้น
สภาพที่เห็น ยังคงความสวยสลับซับซ้อนด้วยหลืบและคูหามากมายแม้หินงอกหินย้อยจะตายแห้งหมดแล้ว ตั้งอยู่หลังโรงเรียบทับปริกนิดเดียว มีป้ายตั้งอยู่ ๓ ป้าย แต่ดูว่าทางโรงเรียนไม่ได้มามีส่วนร่วมอะไรอย่างน่าเสียดาย
"ถ้ำหมอเขียว" อยู่ไม่ไกลกัน บนทางไปเขาพนมเบญจา ที่บ้านหน้าชิง ต้องบุกลงไปในสวนยาง มีสระน้ำอยู่ด้านหน้า หาป้ายอะไรไม่เจอ นอกจากรอยถูกขุดหาอะไรไม่นานมานี้ ในขณะที่บนหน้าเพิงผายังเต็มไปด้วยป่าครึ้ม พบเปลือกหอยมากมาย ไม่แน่ใจว่าของแต่ก่อนหรือคนมาขุดค้นเอามากินทิ้งไว้
สุดท้ายที่ "ถ้ำเสือ" ที่ทุกวันนี้แปลงเป็นวัดวิปัสสนาพร้อมสถานที่ท่องเที่ยวทำบุญจนเต็มไปด้วยป้ายชวนทำบุญซื้อของขลังทั่วทั้งวัด (มีต่อ)
- Details
- Written by Super User
- Category: คุยกับหมอบัญชา
- Hits: 1423
ไปหรือยัง พิพิธภัณฑ์ลูกปัดเมืองไทยที่ดีที่สุด ที่วัดคลองท่อม
เมื่อวานนี้ ที่คลองท่อม อ.วินัย ผู้นำพล บอกว่าเพิ่งกลับมาอีกรอบแล้วตาลาย อะไรจะดีและเปิดประเด็นได้กระเจิดกระเจิงอย่างนี้
ใครยังไม่ได้ผ่านไปอย่าพลาด ผมขอเอาภาพมาให้ผ่านตา แล้วจะขยายความให้ฟังสักวันหนึ่งนะครับ
พิพิธภัณฑ์นี้ เริ่มโดยท่านหวาด หรือ พระครูอาทรฯ จอ.วัดคลองท่อม บอกว่ามีคนนุ่งขาวมาเข้าฝันว่าเฝ้าของมาพันปีจะไปแล้ว ให้ท่านฯ ขุดหามาสร้างวัดได้แล้ว จากนั้นก็เกิดการขุดหาและแบ่งปันกันจนมีทุนสร้างวัดอย่างที่เห็น โดยท่านเลือกเก็บ "ชิ้นเด่น" ไว้เพื่อทำพิพิธภัณฑ์ โดยมี "ข้าราชการที่เกี่ยวข้อง" หลายฝ่ายและคนเวียนกันมาขอตัวอย่าง บอกว่าจะเอาไปวิเคราะห์และเสนอนายเพื่อมาทำพิพิธภัณฑ์ถวายวัด
ท่านบอกว่าเวียนกันมาหลายรอบและคน เอาของไปก็ไม่น้อย สุดท้ายไม่มีความคืบหน้า ท่านจึงเลิกรอแล้วลงมือทำเองทั้งหมด มีคณะอาจารย์ ม.ศิลปากรหลายท่านมาช่วยจนออกมาเป็นพิพิธภัณฑ์ สมเด็จพระเทพเสด็จมา ๒ รอบ กรมศิลปากรก็มาทำหน้าที่รับเสด็จ จากนั้นก็ผ่านกาลเวลา จนท่านชราอาพาธ พิพิธภัณฑ์ก็ผ่านกาลเวลา เมื่อท่านสิ้น คณะกรรมการหลายฝ่าย หารือกันแล้วเห็นควรอนุรักษ์ ดูแลและพัฒนา ด้วยการส่งมอบให้เทศบาลรับธุระ จังหวัดหางบมาให้ปรับปรุงบูรณะ ออกมาเป็นอย่างที่เห็น และใคร ๆ ก็บอกว่า "สุดยอด"
ผมพา อ.เอียน มาเมื่อแรกเสร็จ ยังยกย่องว่ายอดเยี่ยม งานนี้ ผมไม่ทราบว่าจัดการกันอย่างไร รู้แต่ว่าผู้ประมูลได้ เลือกภัณฑารักษ์นักจัดพิพิธภัณฑ์คนหนึ่ง ซึ่งรู้จักผม แต่จำชื่อไม่ได้ แวะเวียนมาหารือหลายรอบ ขอให้ช่วยเป็นที่ปรึกษา ร่วมกับ รอ.บุณยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ แห่งกรมศิลปากร โดยเราไม่ได้รับผลประโยชน์หรือค่าอะไรเลย รวมทั้งไม่เคยลงไปด้วยเลย ได้แต่แนะนำอย่างจริงจัง พร้อมกับเอื้อเฟื้อให้ถ่ายรูปข้าวของในคลัง สุดท้าย ก่อนจะติดตั้ง เขายังเอามาให้ช่วยตรวจตราอย่างละเอียด
งานนี้ เขาทำได้ดีมาก คือ ค้นของทั้งคลังที่เก็บสุมกองไว้ในวัด เอามาจำแนกแยกแยะและจัดแสดงอย่างเป็นระบบและหมวดหมู่
เฉพาะชั้นล่าง แรกเข้า ที่ทำเป็นห้องบรรยายสรุปต้อนรับ ก็น่าดูชม จากนั้นว่าด้วยเรื่องวัดคลองท่อม พิพิธภัณ์แห่งนี้ รวมทั้งท่านพระครูฯ และ อารัมภบทเรื่องปริศนาลูกปัด ก่อนที่แสดงภาพรวมของลูกปัดเท่าที่พบในภาคใต้ จากข้อมูลส่วนหนึ่งที่คุณบุณยฤทธิ์ขุดค้นไว้ และอีกส่วนหนึ่งที่ผมรวบรวมศึกษาไว้
เชิญทัศนากันดู แล้วต้องไปให้ได้ด้วยตัวเองนะครับ
ดูเหมืนอว่าจะปิดทุกวันจันทร์นะครับ
.3
- Details
- Written by Super User
- Category: คุยกับหมอบัญชา
- Hits: 1388
ลูกปัดที่ควนลูกปัด คลองท่อม
หลังผ่าน ๒ ส่วนแรกของพิพิธภัณฑ์ลูกปัดวัดคลองท่อม จึงถึงส่วนที่สามซึ่งให้ภาพรวมของลูกปัดคลองท่อม เริ่มจากแผนที่อาณาบริเวณที่ทุกวันนี้เป็นเพียงเนินสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๑๐ เมตร ไกลจากฝั่งทะเลอันดามันลึกเข้ามาถึง ๑๕ กม. ผ่านสาแหรกสาขามากมาย พร้อมนิทรรศการบอกถึงงานโบราณคดีที่คลองท่อมซึ่งมีทำกันมาเรื่อย ๆ ตั้งแต่ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๖ แต่ใคร ๆ ในโลกล้วนสงสัยว่าทำไมถึงทำกันน้อยนักทั้ง ๆ ที่เป็นแหล่งสำคัญมาก ๆ ในระดับโลก จนถึงกับมีข้อสันนิษฐานว่าอาจจะคือ ตะโกลา ตามตำราภูมิศาสตร์ของโตเลมีที่เขียนที่ปากแม่น้ำไนล์เมื่อพุทธศตวรรษที่ ๗ โน่น
ตลอดส่วนที่สองนี้ นำเสนอภาพลูกปัดแบบต่าง ๆ ของคลองท่อม จากของจริงที่จัดแสดงในตู้ชั้นบนของพิพิธภัณฑ์ กับ จากสุธีรัตนามูลนิธิ ที่ผมจัดให้ ตั้งแต่ สุริยเทพ ตราประทับ จี้ รูปสัตว์ แก้วโมเสก นกแสงตะวัน อำพันทอง หลอด เขียนสี เหรียญตรา เครื่องประดับ เครื่องใช้สำริด ดินเผา หิน ฯลฯ โดยรูปสำริดชิ้นหนึ่งที่จัดวางแสดงอยู่ด้วยนั้น ถือเป็นปริศนาสำคัญ เพราะไม่รู้ที่มาว่าได้มาจากไหน ใครเอามาให้ หากมีหลักฐานว่าเป็นของพบที่คลองท่อมด้วย จะมีความสำคัญอย่างยิ่ง
ที่ท้ายปลายห้อง นอกจากมีหม้อไหวางไว้แล้ว ยังมีเบ้าหลอม ก้อนหินและแก้วที่เป็นวัตถุดิบในการผลิต พร้อมรูปแสดงสว่านธนูแบบดึกดำบรรพ์ที่เชื่อว่าใช้แบบนี้เจาะรูมาตั้งแต่สมัยโน้นจนแม้ทุกวันนี้ที่อินเดียก็ยังทำกันอยู่
สำหรับแก้วนั้น ยังมีภาพแสดงขั้นตอนวิธีทำลูกปัดแก้วแบบต่าง ๆ ทั้งแบบยืดเป็นแท่งแล้วม้วนพัน หรือดึงเป็นหลอด และหยอดเป็นเม็ด เหล่านี้เป็นหลักฐานที่แสดงว่า ที่นี่เป็นแหล่งผลิตและค้าลูกปัดที่สำคัญ
พรุ่งนี้จะเอาของจริงที่จัดแสดงมาให้ดูนะครับ
3
- Details
- Written by Super User
- Category: คุยกับหมอบัญชา
- Hits: 1415
อีกน้องสาวที่เชื่อว่าจะก้าวหน้ากว่าผม ด้วย "บุญมีฤทธิ์"
และ "อุ้มผาง" "เผอะผะ" กะ "แม่กอง"
ตอนนี้พาแม่มาหาหมอ ก็เลยจับเจ่าอยู่หน้าจอ
แล้วโพสต์ของตู่ จิรา อดีตทีมทีวีบูรพากะฅนค้นคน ที่ผันตัวออกมาก่อตั้งทีม "บุญมีฤทธิ์" ทำสารพัดตาม "ฤทธิ์" แห่งบุญที่เธอมีและบ่มเพาะพัฒนา
เธอบอกว่าเพิ่งกลับมาจาก "อุ้มผาง" แล้วผมถามกลับอย่างนี้ว่า
เลยไปถึง "เผอะผะ" มาหรือเปล่าครับ
Jira Bunprasop คือ รับมุขคุณหมอไม่ทัน ฮ่าๆๆ
Bunchar Pongpanich อ้าว หากไม่รู้จัก "เผอะผะ" ก็ยังไม่ไกลเกินกว่า Jira Bunprasop งงงงหนักเลย เข้าไปใน มอทะ ยาโม่คี เชอยอ กะลอหว่อ และอืน ๆๆๆ ชื่อกะเหรี่ยงจำยากค่ะ แต่"เผอะผะ" นี่สารภาพว่าคือครั้งแรกทึ่ได้ยินค่ะ
Bunchar Pongpanich งั้นขอแชร์ แล้าจะเฉลยในแชร์
เรื่องนี้มีความเป็นมาอย่างนี้ครับ
เมื่อปีที่แรกตั้งพรรคไทยรักไทยลงสนามเลือกตั้งครั้งแรกที่เปลี่ยนประเทศไทยด้วยคำขวัญ "คิดใหม่ทำใหม่" จนชนะถล่มทลายนั้น ผมหนีเลือกตั้งไป "ทีลอซู" ซื้อเสื้อของพรรคนี้ไปใส่ฉลอง เพราะชอบใจวิธีคิดแม้มิได้สนับสนุนเป็นการเฉพาะ (จริง ๆ ในชีวิตนี้ ผมหนีเลือกตั้งมา ๒ หน อีกคนเก่ากว่านี้ เลือกขึ้นดอยอินทนนท์ในทำนอง "ขึ้นดอยดูคนกัดกัน")
การไปรอบนั้น ใช้วิธีนั่งกะบะท้ายรถจากแม่สอด ผ่านอุ้มผาง พบพระ กว่าจะถึงทีลอซู นอนกระโจม ล่องทีลอจ่อทีลอเร แบบสมบุกสมบัน แต่ "สุดยอด"
และได้รู้บางอย่างที่ไม่แน่ว่าใช่ จึงลองถาม "ฅนช่างค้น ตู่ จิรา" เผื่อว่าเธอจะช่วยค้นต่อ
๑) เขาเล่าว่า ที่ "พบพระ" นั้นเป็นแดนปกากญอ มีชื่เดิมเรียกว่า "เผอะผะ" คล้าย ๆ ว่ากว่าจะมาถึงก็ "เผอะผะ ๆ ๆ" กันตาม ๆ กัน เพิ่งถูก "พี่ไทย" มาทำให้เป็นไทย ว่า "พบพระ" แบบไม่ค่อยเข้าใจ แต่ก็ต้องทำใจในปราถนาดี ที่จะให้พวกเขา "พบพระ" แต่ไม่รู้ว่าพี่ไทยเองนั้น "ยังมีพระให้พบไหม?"
๒) ระหว่างทางมีดินแดนและสายน้ำสลับไปมา อ่านป้ายได้ว่า "แม่กองโน่น แม่กองนี่" อยู่เป็นระยะ ๆ ก็เลยถามได้ความว่า แถบนี้มี "แม่กอง" มากมายหลาย "กอง" คล้าย ๆ เป็นตำแหน่งของการตั้ง "กอง" ตลอดสายน้ำ ซึ่งนี้คือ "ต้นน้ำแม่กลอง" ของไทยที่ไหลลงไปออกราชบุรี - แม่กลอง นั้นเอง แต่ว่า "พี่ไทย(อีกแล้ว)" ไปเปลี่ยนเป็น "แม่กลอง" ให้ดูเป็นไทยไพเราะ เอา "ล" เข้ามากล้ำ จนเสียความเดิม ว่า "แม่-กอง"
ลองค้นกันต่อนะครับ ว่าอะไรกันแน่
และที่ผมฟังเขาเล่ามานั้น "ก็ไม่แน่ว่าจะใช่".
ตอนกลับมาจากอุ้มผาง เธอยังดูเศร้าสลด
แค่แยกแปลงให้อาทิตย์เดียวก็งามคักคัก
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องการ "ระยะ"
รักษาระยะไว้ให้ "พอดี" แล้วจะงอกงาม